![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
โครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" | |||
วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๑๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องนาคารา คอนเวนชั่น ฮอลล์ ๑ โรงแรมรอยัล นาคารา หนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย นายพรศักดิ์ เจียรณัย พลเอก ศุภวุฒิ อุตมะ และนายชาญวิทย์ วสยางกูร ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" สำหรับประเด็นปัญหาที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้นำเสนอ อาทิ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าชีวมวล ปัญหาท้องถิ่น และการเลือกตั้งท้องถิ่น ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะนำข้อมูลที่ได้รับไปดำเนินการหาแนวทางแก้ไขภายใต้บทบาทอำนาจหน้าที่ของ สนช. ต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
รับฟังประเด็นปัญหาและความต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติสนับสนุนเพิ่มเติมจากผู้แทนโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาฯ จากจังหวัดอุดรธานี | |||
วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องกชมน ๒ โรงแรมรอยัล นาคารา หนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย นายพงศ์กิตติ์ อรุณภักดีสกุล ที่ปรึกษาด้านการเมือง การปกครองและการบริหารจัดการ ในฐานะคณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับฟังประเด็นปัญหาและความต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติสนับสนุนเพิ่มเติมจากผู้แทนโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาฯ จากจังหวัดอุดรธานี สำหรับประเด็นที่ทางโรงเรียนต้องการได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม อาทิ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ ครูและบุคลากรสนับสนุน (ภารโรง) ไม่เพียงพอ วัสดุอุปกรณ์สำนักงานฯ ไม่เพียงพอต่อจำนวนบุคลากร และต้องการให้ปรับปรุงสนามเด็กเล่น สภาพห้องน้ำ และโรงอาหาร | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
โครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" | |||
วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องนาคารา คอนเวนชั่น ฮอลล์ ๑ โรงแรมรอยัล นาคารา หนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พลโท ชาญชัย ภู่ทอง ประธานคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวเปิดโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" ซึ่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้แก่ผู้นำภาคส่วนต่าง ๆ และเสริมสร้างเครือข่ายเข้มแข็งภาคประชาชน ในการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับ สนช. อีกทั้งเพื่อให้ สมาชิก สนช. ได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำมาดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของ สนช. ต่อไป โดยมี นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย กล่าวต้อนรับ และนายพงศ์กิตติ์ อรุณภักดีสกุล ที่ปรึกษาด้านการเมือง การปกครองและการบริหารจัดการ กล่าวรายงาน พร้อมด้วย พลเอก ศุภวุฒิ อุตมะ นายชาญวิทย์ วสยางกูร และพรศักดิ์ เจียรณัย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมในพิธีเปิด สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ทนายความ ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ปกครองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน และสื่อมวลชน จากจังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุดรธานี รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๓๐ คน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กรุงเทพฯ จำนวน 8 คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา คณะอาจารย์ และนักศึกษาสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน ๑๒๐ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมสภาจำลองเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
การประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (Association of Secretaries General of Parliaments - ASGP) ครั้งที่ ๑๓๘ | |||
วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติ (CICG) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นางละออ ภูธรใจ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ในฐานะสมาชิกสมาคมเลขาธิการรัฐสภาโลก เข้าร่วมการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (Association of Secretaries General of Parliaments - ASGP) ครั้งที่ ๑๓๘ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยในวันนี้ Mr. Philippe Schwab เลขาธิการรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ สมาพันธรัฐสวิส ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้กล่าวเปิดการประชุมและแสดงความยินดีต่อ Mr. José Manuel Araujo รองเลขาธิการรัฐสภาโปรตุเกส ในโอกาสได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสมาคมฯ ทั้งนี้ Mr. José Manuel Araujo เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่เพียงผู้เดียว ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ต่อมาในที่ประชุมได้เริ่มการนำเสนอประเด็นอภิปรายภายใต้หัวข้อหลักเรื่อง "เอกสิทธิ์" (Privilege) โดย Mr. Charles Robert เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแคนาดา เป็นผู้นำเสนอประเด็นอภิปรายเรื่อง "การอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีกับเอกสิทธิ์ของรัฐสภาในการประชุมสภา" โดยสมาชิกฯ จากประเทศต่างๆ ได้ซักถามและแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเอกสิทธิ์และความคุ้มกันตามรัฐธรรมนูญและขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในเวทีรัฐสภา ในโอกาสเดียวกันนี้ เลขาธิการรัฐสภาบาห์เรนได้มีข้อเสนอต่อที่ประชุม โดยสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาบาห์เรนอาสาจัดทำหนังสือคู่มือสรุปรายละเอียดและผลการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๘ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และจะนำหนังสือคู่มือดังกล่าวมาเผยแพร่ให้กับสมาชิกฯ ในการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๙ ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๑ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ต่อไป หลังจากนั้น ที่ประชุมได้จัดให้มีการลงคะแนนเสียงแบบลับเพื่อให้สมาชิกฯ เลือกตั้งกรรมการบริหารสมาคมฯ ซึ่งมีตำแหน่งว่างลงสองตำแหน่งและมีผู้สมัครจำนวนทั้งหมดสี่คนจากเลขาธิการรัฐสภาประเทศแคนาดา นามีเบีย ศรีลังกา และตูนีเชีย ในโอกาสนี้ คณะผู้แทนไทยได้ร่วมลงคะแนนเสียงในที่ประชุม และจากผลการเลือกตั้งปรากฏว่า Mr. Charles Robert เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรแคนาดา และ Mrs. Lydia Kandetu เลขาธิการรัฐสภานามีเบีย ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด ๔๑ คะแนน และ ๒๘ คะแนน ตามลำดับ จากจำนวนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมด ๑๑๖ คน ผู้สมัครทั้งสองคนจึงได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารสมาคมเลขาธิการรัฐสภาเริ่มวาระตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๖๑ ในช่วงบ่าย Mr. José Manuel Araujo รองเลขาธิการรัฐสภาโปรตุเกส ได้นำเสนอประเด็นอภิปรายเรื่อง "การใช้ดุลยพินิจของศาลในเรื่องกิจการการภายในของรัฐสภา" และสมาชิกฯ ได้ซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการใช้อำนาจทางตุลาการของศาลในเรื่องระเบียบและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา และการสร้างบรรทัดฐานทางจริยธรรมเพื่อลดการใช้อำนาจทางตุลาการในการไกล่เกลี่ยกิจการภายในของรัฐสภา ทั้งนี้ ในช่วงท้ายของการประชุม ฝ่ายเลขาธิการสมาคมฯ ได้นำเสนอพัฒนาการล่าสุดของการประชุมในกรอบสหภาพรัฐสภาและนำเสนอประเด็นหัวข้อที่จะมีการอภิปรายในการประชุมครั้งถัดไป เช่น การประชุมแบบเปิดและปิดและผลกระทบต่อกระบวนการตัดสินใจ การเปิดเผยและความโปร่งใสของรัฐสภา และกระบวนการทางกฎหมายและการบริหารงานในรัฐสภาสมัยใหม่ เป็นต้น โดยการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา ครั้งที่ ๑๓๙ จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม ๒๕๖๑ ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา คณะอาจารย์ และนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน ๔๐ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
การประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (Association of Secretaries General of Parliaments-ASGP) ครั้งที่ ๑๓๘ | |||
วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติ (CICG) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นางละออ ภูธรใจ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ในฐานะสมาชิกสมาคมเลขาธิการรัฐสภาโลก เข้าร่วมการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (Association of Secretaries General of Parliaments-ASGP) ครั้งที่ ๑๓๘ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ โดยมี Mr. Philippe Schwab เลขาธิการรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ สมาพันธรัฐสวิส ทำหน้าที่ประธานการประชุม ภายหลังเปิดการประชุมแล้ว ผู้แทนของแต่ละกลุ่มได้รายงานผลสรุปประเด็นอภิปรายทั้งสี่หัวข้อต่อที่ประชุม ต่อเนื่องจากการประชุมเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑ ได้แก่ ๑) การร่วมมือระหว่างรัฐสภากับรัฐบาลในการวางแผนและการวางระบบการดำเนินงานของรัฐสภา ๒) ความรู้สึกต่อต้านรัฐสภากับการพิจารณาเรื่องจริยธรรมราชการ ๓) บทบาทของรัฐสภาในองค์ประกอบและการจัดตั้งรัฐบาล และ ๔) การตรวจสอบรัฐบาลโดยรัฐสภา ในโอกาสนี้ ผู้รายงานต่อที่ประชุมของแต่ละกลุ่มได้รวบรวมข้อคิดเห็นจากสมาชิกฯ เพื่อกล่าวรายงานผลสรุปประเด็นอภิปรายต่อที่ประชุม โดยคณะผู้แทนไทยได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องความร่วมมือระหว่างรัฐสภากับรัฐบาลและการตรวจสอบรัฐบาลโดยรัฐสภา ต่อมา Mr. Masibulele Xaso เลขาธิการรัฐสภาสาธารณรัฐแอฟริกาฃ ได้นำเสนอประเด็นในหัวข้อหลักเรื่อง"พัฒนาการของกระบวนการและการปฏิบัติ" โดยให้มุมมองตัวอย่างของกฎระเบียบและการปฏิรูปของรัฐสภาสาธารณรัฐแอฟริกาใต้และบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการวางกรอบกฎระเบียบและข้อบังคับในการประชุมรัฐสภา จากนั้นในช่วงบ่าย ที่ประชุมได้มีการนำเสนอประเด็นอภิปรายภายใต้หัวข้อหลัก "รัฐสภาและสังคม" ซึ่งมีประเด็นการนำเสนอทั้งหมดสามหัวข้อรอง ดังนี้ ๑) การทดลองของรัฐสภาบาห์เรนในการสื่อสารกับภาคประชาชน ๒) การมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนวัตกรรมในรัฐสภา และ ๓) รัฐสภาและสังคมในคอสตาริกา ในขณะเดียวกัน คณะผู้แทนไทยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับที่ประชุมในหัวข้อการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนวัตกรรมในรัฐสภาโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน โอกาสเดียวกันนี้ Mr. Philippe Schwann ประธานสมาคมเลขาธิการรัฐสภาได้กล่าวทักทายและแสดงความยินดีที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมอย่างสม่ำเสมอและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้พัฒนาความร่วมมือมากยิ่งขึ้นในอนาคต หลังจากนั้น ประธานการประชุมเปิดโอกาสให้ผู้ลงสมัครเป็นกรรมการบริหารสมาคมฯ ที่ว่างลงสองตำแหน่ง โดยมีผู้สมัครจำนวนทั้งหมดสี่คนจากเลขาธิการรัฐสภาประเทศแคนาดา นามีเบีย ศรีลังกา และตูนีเชีย ขึ้นกล่าวแนะนำตัวและแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมก่อนที่จะมีการลงคะแนนเสียงเลือกกรรมการบริหารสมาคมฯ ในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑ ต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา คณะอาจารย์ และนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน ๓๓ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมสภาจำลองเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ในฐานะสมาชิกสมาคมเลขาธิการรัฐสภาโลก เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (Association of Secretaries General of Parliaments - ASGP) ครั้งที่ ๑๓๘ | |||
วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑ ณ ศูนย์การประชุมนานาชาติ (CICG) นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส นางละออ ภูธรใจ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ ในฐานะสมาชิกสมาคมเลขาธิการรัฐสภาโลก เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (Association of Secretaries General of Parliaments - ASGP) ครั้งที่ ๑๓๘ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ ๒๘ มีนาคม 2561 โดยภายหลังพิธีเปิดการประชุม Mr. Philippe Schwab เลขาธิการรัฐสภาแห่งสมาพันธ์ สมาพันธรัฐสวิส ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม แนะนำสมาชิกใหม่ของสมาคมเลขาธิการรัฐสภา และเริ่มเปิดการอภิปรายในหัวข้อหลักเรื่องประเด็นในข่าว (In the News) โดยมี Dr. Georg Kleeman รองเลขาธิการสภาสหพันธ์ ร่วมกับ Dr. Horst Risse เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นำเสนอประเด็นอภิปรายในหัวข้อ "ผลกระทบของ Brexit ตามความเห็นของรัฐสภาต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป" ตามด้วยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากมุมมองของรัฐสภาไอร์แลนด์ โดย Mr. Peter Finnegan เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรฟินแลนด์ ต่อมาเป็นการนำเสนอประเด็นอภิปรายโดย Mr. Mehmet Ali Kumbuzoglu เลขาธิการสภาแห่งชาติตุรกี เรื่อง "ระบบประธานาธิบดีที่จะมีการบังคับใช้ในตุรกีในปี 2019" ในช่วงบ่าย Mr. Geert Jan A. Hamilton เลขาธิการวุฒิสภาเนเธอร์แลนด์ นำเสนอประเด็นอภิปรายเรื่อง "การจัดตั้งรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีพรรคการเมืองหลายพรรค" ต่อมา ที่ประชุมได้แบ่งกลุ่มอภิปรายในสี่หัวข้อ ได้แก่ ๑) การร่วมมือระหว่างรัฐสภากับรัฐบาลในการวางแผนและการวางระบบการดำเนินงานของรัฐสภา ๒) ความรู้สึกต่อต้านรัฐสภากับการพิจารณาเรื่องจริยธรรมราชการ ๓) บทบาทของรัฐสภาในองค์ประกอบและการจัดตั้งรัฐบาล และ ๔) การตรวจสอบรัฐบาลโดยรัฐสภา ทั้งนี้ในแต่ละหัวข้อการนำเสนอของเลขาธิการรัฐสภาจากประเทศต่างๆ ได้มีสมาชิกซักถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแต่ละประเด็น ในขณะเดียวกัน ผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ การร่วมมือระหว่างรัฐสภากับรัฐบาลในการวางแผนและการวางระบบการดำเนินงานของรัฐสภา และหัวข้อการตรวจสอบรัฐบาลโดยรัฐสภา โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันก่อนที่จะมีการสรุปประเด็นนำเสนอต่อที่ประชุมในวันอังคารที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๖๑ ต่อไป การประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภาจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีละ ๒ ครั้ง โดยจัดคู่ขนานไปกับการประชุมสหภาพรัฐสภา (International Parliamentary Union - IPU) โดยมีผู้แทนจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเข้าร่วมประชุมในฐานะสมาชิกฯ เป็นประจำทุกปี | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จำนวน ๘๐ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านนาปรือ จังหวัดสงขลา เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านนาปรือ จังหวัดสงขลา จำนวน ๑๘ คน และโรงเรียนบ้านกูจิงรือปะ จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๒๗ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑ คณะอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน ๔๘ คน เยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ คณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนบ้านกะรุบี จังหวัดปัตตานี เยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนบ้านกะรุบี จังหวัดปัตตานี จำนวน ๔๖ คน เยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑ การจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ในการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเมือง การปกครอง บทบาทหน้าที่และอำนาจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ณ ห้อง ๒๒๐ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ | |||
วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๒๒๐ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ คณะอนุกรรมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านเครือข่ายและสื่อสังคมออนไลน์ ในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติให้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ในการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเมือง การปกครอง บทบาทหน้าที่และอำนาจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระหว่าง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยนายนัฑ ผาสุข เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย โดยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยแพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วยคณะกรรมการ ร่วมเป็นสักขีพยาน สำหรับวัตถุประสงค์การจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ครั้งนี้ เพื่อพัฒนาบุคลากรส่วนท้องถิ่น และบุคลากรสนับสนุนทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการสร้างเครือข่ายเผยแพร่ ต่อยอดขยายผลความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข บทบาทหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และวุฒิสภาสู่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเสริมสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองแก่ประชาชน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑ คณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนบ้านตือมายู จังหวัดนราธิวาส เยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนบ้านตือมายู จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๔๒ คน เยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๑๗คน เยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน ๑๗คน เยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมสภาจำลองเพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
คณะอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน ๑๑๗ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๑๕ มีนาคม 2561 เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน ๑๑๗ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
โรงเรียนศรีสวรรค์วิทยา อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักเรียน โรงเรียนศรีสวรรค์วิทยา อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส จำนวน ๕๐ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๑ พิธีเปิดและบรรยายพิเศษเรื่อง "บทบาทของ สนช. กับการปฏิรูปประเทศ" ในโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา : กิจกรรมพบผู้ฟังและผู้ชมจังหวัดนครราชสีมา | |||
วันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ โรงแรมเลอมอนเต้ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษเรื่อง "บทบาทของ สนช. กับการปฏิรูปประเทศ" ในโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา : กิจกรรมพบผู้ฟังและผู้ชมจังหวัดนครราชสีมา จัดโดย สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา โอกาสนี้ นายชาญวิทย์ วสยางกูร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ร่วมเสวนาเรื่อง "ประชาชนได้อะไร? จาก พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฉบับใหม่" | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||