![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐ พิธีปิดโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |||
วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องกรุงศรีอยุธยา ๑ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายธานี อ่อนละเอียด สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้โอวาทและกล่าวปิดโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" พร้อมร่วมกับ ดร.อภิชาติ ดำดี อดีตสมาชิกวุฒิสภา ว่าที่ร้อยตรี พิเชียน ลิมป์หวังอยู่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายพงศ์กิตติ์ อรุณภักดีสกุล รองเลขาธิการวุฒิสภา มอบสัมฤทธิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการอบรม จำนวน ๑๒๒ คน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ ประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการในโรงเรียนกองทุนการศึกษา ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |||
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องชวนชม ๒ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานเพื่อสนับสนุนโครงการกองทุนการศึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของโครงการในโรงเรียนกองทุนการศึกษา จำนวน ๙ โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนมาลาอีสงเคราะห์ โรงเรียนวัดจุฬามณี โรงเรียนวัดหนองไม้ซุง โรงเรียนวัดทางหลวง (เทพราษฎร์รังสรรค์) วิทยาลัยเทคโนโลยีบางกะปิ วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง วิทยาลัยเทคนิคดุสิต วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ วิทยาลัยเทคโนโลยีมีนบุรีโปลีเทคนิค โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน สรุปรายงานข้อมูลฯ ทั้งนี้ ประเด็นที่ที่โรงเรียนต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่ งบประมาณการอบรมครู-นักเรียน งบประมาณในการพัฒนาโรงเรียน ระบบคอมพิวเตอร์ การปรับปรุงอาคารเรียน โทรทัศน์เพื่อจัดการเรื่องการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม เรื่องทุนการศึกษาเด็กนักเรียน เป็นต้น | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ คณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงพื้นที่ร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ในโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชน ณ จังหวัดตรัง | |||
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา ๔ ตำบลนาบินหลา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง คณะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ นายยุทธนา ทัพเจริญ และอนุกรรมการฯ ลงพื้นที่ร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ในโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชน ณ จังหวัดตรัง โดยได้มอบเงินจากนายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง จำนวน ๕,๐๐๐ บาท และสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อสนับสนุนการศึกษา พร้อมทั้งเยี่ยมชมกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยมี นายสุพล บุญธรรม ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา ๔ จังหวัดตรัง ให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคฯ โดยมี คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียน จำนวน ๘๐ คน ร่วมกิจกรรม | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ การบรรยายเรื่อง "บทบาท อำนาจหน้าที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญ" ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |||
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องกรุงศรีอยุธยา ๑ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ กรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน และกรรมาธิการคมนาคม นายธานี อ่อนละเอียด กรรมาธิการและเลขานุการคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "บทบาท อำนาจหน้าที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และพระราชบัญญัติประกอบร่างรัฐธรรมนูญ" ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมในโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ พิธีเปิดโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |||
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องกรุงศรีอยุธยา ๑ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น หลักสูตร "กระบวนการเสริมสร้างผู้นำนักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม" พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "รัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปประเทศ" ซึ่งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้แก่ผู้นำภาคส่วนต่าง ๆ และสร้างเครือข่ายเข้มแข็งภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับ สนช. อีกทั้งเพื่อให้สมาชิก สนช. ได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้นำท้องถิ่น เพื่อนำมาดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของ สนช. ต่อไป โดยมี นายพงศ์กิตติ์ อรุณภักดีสกุล รองเลขาธิการวุฒิสภา กล่าวรายงาน และว่าที่ร้อยตรีพิเชียน ลิมป์หวังอยู่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวต้อนรับ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้นำจากส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองท้องที่ ผู้บริหารสถานศึกษา ทนายความ ศิลปินพื้นบ้าน สื่อมวลชนจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดนนทบุรี | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
ผู้แทนนำข้าราชการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาวางพวงมาลาในนาม "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" เพื่อถวายราชสักการะเนื่องในโอกาสวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช | |||
วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ พระบรมราชานุสรณ์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี นางสาวนภาภรณ์ ใจสัจจะ รองเลขาธิการวุฒิสภา เป็นผู้แทนนำข้าราชการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาวางพวงมาลาในนาม "สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" เพื่อถวายราชสักการะเนื่องในโอกาสวันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน ๔๓ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา คณะอาจารย์และนักศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จำนวน ๔๓ คน เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมทั้งร่วมกิจกรรมสภาจำลอง เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครองและบทบาทอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
พิธีทำบุญตักบาตร งานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ | |||
วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๖.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นางสาวสุภางจิตต ไตรเพทพิสัย ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย พร้อมด้วยนายสุรัตน์ หวังต่อลาภ ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ เป็นผู้แทนสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร งานเทศกาลมหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
มอบดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ครบรอบ ๑๗ ปี | |||
วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๒๐ นาฬิกา ณ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ชั้น ๙ (ทิศตะวันตก) อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ นางสาวมาลี พิลาหอม ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ เป็นผู้แทนสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา มอบดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ครบรอบ ๑๗ ปี | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ||
วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ ประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา(ASGP) ณ กรุงธากา บังกลาเทศ | |||
ประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา(ASGP) วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ศูนย์การประชุม BICC กรุงธากา บังกลาเทศ นางละออ ภูธรใจ รองเลขาธิการวุฒิสภา เข้าร่วมประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา(ASGP) เป็นวันที่สาม ซึ่งได้มีการอภิปรายทั่วไปเรื่องการจัดการด้านนวัตกรรมในรัฐสภา ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการติดต่อสื่อสาร และดำเนินการด้านระบบงานนิติบัญญัติเพื่อให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเตรียมตัวเข้าสู่ความท้าทายในอนาคต ในโอกาสดังกล่าว ได้มีตัวแทนจากฝ่ายเลขาธิการสหภาพรัฐสภา ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการจัดการของสหภาพรัฐสภาในเรื่องนวัตกรรมใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้จัดให้มี E-parliament เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ความร่วมมือด้านวิชาการในระบบดิจิตอล ต่อจากนั้น คณะผู้เข้าร่วมการประชุม ASGP ได้เดินทางไปเยี่ยมชมอาคารและห้องประชุมรัฐสภาบังกลาเทศ โดยเลขาธิการรัฐสภาบังกลาเทศเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะ ทั้งนี้ อาคารรัฐสภาบังกลาเทศ ออกแบบโดยนาย Louis Khan สถาปนิกที่มีชื่อเสียงในด้านการใช้แสงและพื้นที่ อาคารนี้ใช้ชื่อว่า Jatiyo Sangshad Bhaban ใช้เวลาก่อสร้างกว่า ๒๐ ปี และใช้เรื่องประชาธิปไตยเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ ในช่วงบ่าย ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบของสมาคมเลขาธิการรัฐสภา รวมทั้งการนำเสนอร่างระเบียบวาระการประชุม ครั้งที่ ๑๓๗ ณ นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก สหพันธรัฐรัสเซีย | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ รองเลขาธิการวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (ASGP) ณ ศูนย์การประชุม BICC กรุงธากา บังกลาเทศ | |||
การประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (ASGP) วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ ศูนย์การประชุม BICC กรุงธากา บังกลาเทศ นางละออ ภูธรใจ รองเลขาธิการวุฒิสภา เข้าร่วมการประชุมสมาคมเลขาธิการรัฐสภา (ASGP) เป็นวันที่สอง ซึ่งได้มีการอภิปรายในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ การพิจารณาเสนอการร่างกฎหมายของรัฐสภาสวิตเซอร์แลนด์โดยเลขาธิการรัฐสภาสวิตเซอร์แลนด์ เครื่องมือที่เป็นรูปธรรมในการตรวจสอบจริยธรรมและความโปร่งใสเพื่อให้สอดคล้องกับความคาดหวังทางสังคม โดยเลขาธิการรัฐสภาฝรั่งเศส วิธีการสร้างความเชื่อมั่นต่อการตรวจสอบของรัฐสภาในการออกกฎหมายให้มีคุณภาพ และการนำเสนอในหัวข้อ การประเมินนโยบายสาธารณะ การปฏิบัติงานในสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโก โอกาสนี้ นางละออ ภูธรใจ รองเลขาธิการวุฒิสภา ได้นำเสนอเรื่อง บทบาทสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้เป็นช่องทางเผยแพร่การรับรู้เกี่ยวกับภารกิจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไทย โดยกล่าวว่า ปัจจุบัน สื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทสำคัญในการนำเสนอภารกิจต่างๆ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยสามารถเข้าถึงข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ NLA website Click Senate App Senate Chanel Facebook และ NLA line เป็นต้น ทั้งนี้ ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยการแสดงความคิดเห็นและข้อซักถามผ่านช่องทางเหล่านี้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วเช่นกัน ทั้งนี้ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสหราชอาณาจักร ได้ให้ความสนใจสอบถามถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน พร้อมทั้งได้อวยพรให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืนต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ การสัมมนา เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. ...." ณ อาคารรัฐสภา ๒ | |||
วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม ๓๐๖-๓๐๘ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมการวิชาการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับ สถาบันพระปกเกล้า จัดการสัมมนา เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. ...." โดยมี นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่สอง ในฐานะประธานกรรมการวิชาการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการสัมมนา และ รองศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการกำหนดแผนการดำเนินงานเสริมสร้างความรู้ในวงงานนิติบัญญัติ กล่าวรายงาน ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสนับสนุนข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. ...." ตลอดจนผลการศึกษาวิเคราะห์ให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อันจะทำให้กระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||