![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานการคัดแยก การรีไซเคิลวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีโลหะมีค่าเพื่อการค้า การส่งออก และนำเข้า ณ บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |||
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๕๐ นาฬิกา ณ บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ ศึกษาดูงานการคัดแยก การรีไซเคิลวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีโลหะมีค่าเพื่อการค้า การส่งออก และนำเข้า ซึ่งบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการกำจัดซากอิเล็คทรอนิกส์ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต โดยมี คณะผู้บริหารให้การต้อนรับและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ จากนั้น ศึกษาดูงานศูนย์บริหารจัดการขยะชุมชน การคัดแยกขยะ การจัดการขยะชุมชน การกำจัดซากอิเลกทรอนิกส์ รวมทั้งเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าและบ่อขยะ ณ บริษัท อิสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด ตำบลแพรกษาใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี คณะผู้บริหารให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวการดำเนินงานด้านต่างๆ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะอนุกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมือง ประชุมหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี | |||
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ศูนย์ราชการจังหวัดปราจีนบุรี คณะอนุกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนเมือง ในคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ประชุมหารือร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับแนวทางการจัดการขยะของจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อรองรับขยะจากภาคอุตสาหกรรม รวมถึงติดตามการบังคับใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ และแนวทางการปฎิบัติของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. .... แถลงข่าวเกี่ยวกับการประชุมฯ | |||
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ พลเรือเอก ธราธร ขจิตสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. .... ตามมาตรา ๒๖๗ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แถลงผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการว่า ที่ประชุมได้พิจารณาความเห็นของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เกี่ยวกับร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยในประเด็นความเห็นของ กกต. มาตรา ๖๔ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ กกต.ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเพื่อให้สั่งเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นเพียงประการเดียว ไม่ได้ให้อำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งด้วยนั้น ที่ประชุมมีมติให้เพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๒๒๖ วรรคหนึ่ง คือ ภายหลังการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกผู้ใดกระทำการทุจริตในการเลือกตั้งหรือการเลือกหรือรู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่น ให้ กกต. มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครด้วย สำหรับประเด็นความเห็นของ กรธ. ที่เห็นว่าไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑. การเปลี่ยนแปลงจำนวนกลุ่มการสมัคร จาก ๒๐ กลุ่ม เหลือเพียง ๑๐ กลุ่ม ๒. การแบ่งผู้สมัครในแต่ละกลุ่มออกเป็น ๒ ประเภท และการให้ผู้สมัครในแต่ละประเภทเลือกกันเอง และ ๓. ยกเลิกการเลือกไขว้นั้น ที่ประชุมมีมติให้เป็นไปตามความเห็นของ กรธ. คือ การแบ่งกลุ่มการสมัครเป็น ๒๐ กลุ่ม กำหนดให้มีผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาโดยอิสระ และกำหนดกระบวนการเลือกตั้งในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ด้วยวิธีการเลือกไขว้และเลือกกันเอง และมีมติแก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นไปตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๓ กรณีวาระเริ่มแรกของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๒๖๙ (อายุของวุฒิสภากำหนดห้าปี นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง) กำหนดให้มีการแบ่งกลุ่มการสมัครเป็น ๑๐ กลุ่ม กำหนดให้ผู้สมัครแบ่งเป็นสมัครโดยอิสระและสมัครโดยต้องได้รับการเสนอชื่อจากองค์กร และกำหนดกระบวนการเลือกในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ด้วยวิธีการเลือกกันเองโดยตรง ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการจะมีการประชุมเพื่อพิจารณารายละเอียดและถ้อยคำให้สมบูรณ์ ก่อนเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาในวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๑ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะอนุกรรมาธิการชุมชนเมือง ในคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานการจัดการป่าในกรุงของศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงสถาบันปลูกป่า ปตท. | |||
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ สถาบันปลูกป่า ปตท. กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมาธิการชุมชนเมือง ในคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานการจัดการป่าในกรุงของศูนย์เรียนรู้ป่าในกรุงสถาบันปลูกป่า ปตท. และกิจกรรมป่านิเวศบริเวณเกาะนก จากนั้น ศึกษาดูงานการจัดการป่าในเมืองของศูนย์การเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพเเละความยั่งยืน "ชีวพนาเวศ" (Toyota Biodiversity and Sustainability Learning Center) เพื่อศึกษาต้นแบบในการส่งเสริมการเพิ่มปริมาณป่าในเมือง โดยคณะอนุกรรมาธิการจะได้รวบรวมข้อมูลนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของป่าในเมืองต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) แถลงผลการประชุมของคณะกรรมาธิการ | |||
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๑๐ นาฬิกา ณ บริเวณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. .... ตามมาตรา ๒๖๗ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แถลงผลการประชุม ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาความเห็นของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และความเห็นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยมีมติในเรื่องให้ตัดสิทธิ์ผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ หรือแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยเหตุนั้นไม่เป็นเหตุอันควร โดยจะถูกตัดสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และห้ามดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา สำหรับประเด็นค่าใช้จ่ายของพรรคการเมืองจากเดิมที่กำหนดให้มีจำนวนเท่ากันทุกพรรค ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด กรรมาธิการฯ เห็นว่าอาจจะทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองขนาดใหญ่กับพรรคการเมืองขนาดเล็ก จึงไม่นำผู้สมัครของแต่ละพรรคที่มีจำนวนไม่เท่ากันมาคำนวณเป็นฐาน และมีมติให้ตัดคำว่าเท่าเทียมกันออก โดยจะใช้จำนวนผู้สมัคร ส.ส. ทั้งระบบแบ่งเขตและระบบปาร์ตี้ลิสต์เป็นฐานในการคำนวณ โดยส่วนสัดส่วนในการคำนวณจะเป็นเท่าใดนั้น กกต. กับพรรคการเมืองต้องไปตกลงกัน ในกรณีการอนุญาตให้ผู้พิการสามารถมีผู้ช่วยในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้โดยให้ถือว่าการลงคะแนนยังเป็นความลับอยู่เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ ใน ส่วนประเด็นที่ กกต. มีความเห็นแย้งให้มีบัตรเลือกตั้งใบเดียวและหมายเลขเดียวกันทั้งประเทศ กรรมาธิการฯ มีมติให้ยืนตามร่างเดิมของ กรธ. ซึ่งให้แต่ละเขตมีหมายเลขที่แตกต่างกัน เพื่อให้ประชาชนจดจำผู้สมัครในเขตของตัวเองได้ และในกรณีให้อำนาจศาลในการสั่งให้การเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปอย่างสุจริตและเที่ยงธรรม ในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดว่าเป็นการกระทำของผู้ใดโดยให้เป็นอำนาจศาลสั่งให้การเลือกตั้งนั้นเป็นโมฆะและให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้ ขณะที่กรณีหากให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในการสั่งเพิกถอนสิทธิรับสมัครรวมถึงเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้น กรรมาธิการฯ ให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมคำว่าให้ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา เพื่อเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยืนยันมติที่ให้ยกเลิกการจัดมหรสพระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. รวมถึงการปรับเวลาลงคะแนนเลือกตั้ง จากเดิมที่ สนช. กำหนด จากเวลา ๐๗.๐๐-๑๗.๐๐ นาฬิกา เป็นตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ นาฬิกา นายสมชาย กล่าวด้วยว่า หลังจากที่คณะกรรมาธิการร่วม ๓ ฝ่าย ได้ทบทวนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวเสร็จแล้วจะเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ทั้งนี้ในการลงมติจะเป็นการลงมติทั้งฉบับ และจะเปิดให้กรรมาธิการเสียงข้างมากและเสียงข้างน้อย ชี้แจงเหตุผลของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ หากจะไม่ผ่านความเห็นชอบจะต้องใช้เสียง ๒ ใน ๓ ของสมาชิกที่มีอยู่ หรือ ๑๖๖ เสียงขึ้นไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลังน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี | |||
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ คลังน้ำมันเชื้อเพลิงบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย พลโท อำพน ชูประทุม รองประธานคณะกรรมาธิการ และในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามด้านพลังงานฟอสซิล พร้อมด้วย พลเอก ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการบริหารจัดการคลังน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท ตลอดจนรับทราบนโยบายในการพัฒนากิจการปิโตรเลียมเพื่อรองรับการเป็นศูนย์ กลางด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน หรือเออีซีในปลายปี ๒๕๕๘ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานพร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของบริษัท ฉื่อ จิ้น ฮั้ว จำกัด และบริษัทศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ | |||
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ บริษัท ฉื่อ จิ้น ฮั้ว จำกัด และบริษัทศูนย์บริการเหล็กสยาม จำกัด (มหาชน) จังหวัดสมุทรปราการ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย พลเอก ยุทธศิลป์ โดยชื่นงาม เลขานุการคณะกรรมาธิการ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการสนับสนุนภารกิจพาณิชย์ อุตสาหกรรม และแรงงาน ศึกษาดูงานพร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของบริษัท เกี่ยวกับแนวทางลดการนำเข้าแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ สำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยคณะอนุกรรมาธิการฯ จะทำการศึกษาวิเคราะห์แนวทางในการส่งเสริม การจูงใจ และทัศนคติในการทำงานประเภทดังกล่าวเพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถพัฒนาไปได้โดยลดการนำเข้าแรงงานไร้ฝีมือ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการขนส่งเชื้อเพลิงถ่านหิน การนำถ่านหินมาใช้ประโยชน์ในกิจการของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด (SCG) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |||
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ โครงการจัดเก็บถ่านหินแบบปิด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ท่าเรือวัดบันได) บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ท่าหลวง) จำกัด (SCG) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยพลโท อำพน ชูประทุม รองประธานคณะกรรมาธิการ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและติดตามด้านพลังงานฟอสซิล และพลเอก ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการขนส่งเชื้อเพลิงถ่านหิน การนำถ่านหินมาใช้ประโยชน์ในกิจการของบริษัทฯ ตลอดจนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการการจัดเก็บถ่านหินแบบปิด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากนั้น เยี่ยมชมและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชื้อเพลิงถ่านหินที่นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมของบริษัทในเครือ เกี่ยวกับกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์และการผลิตกระแสไฟฟ้า ตลอดจนการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โครงการ ณ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) สำนักงานสระบุรี จังหวัดสระบุรี | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
การสัมมนาเรื่อง "ข้อเสนอเชิงนโยบายการบูรณาการการจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับการศาสนาเพื่อการปฏิรูปประเทศ" ณ ห้องรับรอง ๑-๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ | |||
วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑-๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา ร่วมกับคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดสัมมนาเรื่อง "ข้อเสนอเชิงนโยบายการบูรณาการการจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับการศาสนาเพื่อการปฏิรูปประเทศ" โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานเปิดสัมมนา นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาฯ นายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ ประธานคณะอนุกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนายสมพร เทพสิทธา รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนาฯ ร่วมอภิปรายเรื่อง "การบูรณาการการจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญกับการศาสนาเพื่อการปฏิรูปประเทศ" การสัมมนาครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากคณะกรรมาธิการได้พิจารณาเห็นว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าประกอบกับสังคมไทยปัจจุบันได้พลวัตเข้าสู่โลกแห่งศตวรรษที่ ๒๑ แต่เนื่องจากปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยังประสบปัญหาสำคัญหลายประการตั้งแต่ปัญหาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับ ปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา รวมทั้งปัญหาด้านคุณธรรมและจริยธรรม ดังนั้น จำเป็นต้องมีแนวทางการบูรณาการระหว่างการจัดกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาและศาสนาโดยให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมเพื่อเป็นกลไกส่วนหนึ่งในการปฏิรูปประเทศให้พัฒนาและก้าวหน้าอย่างยั่งยืน คณะกรรมาธิการฯ จึงเห็นควรจัดสัมมนาเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนทั้งด้านการศึกษาสถาบันหรือองค์กรทางศาสนาได้มีส่วนร่วมเสนอแนวทางการบูรณาการระหว่างการจัดการศึกษากับการศาสนาทั้งมิติด้านนโยบายการดำเนินการและด้านกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสมดุลจนเกิดผลเป็นรูปธรรมอันจะนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการบูรณาการการจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการศึกษาแห่งชาติ เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
สัมมนา "บทบาทสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติกับสถาบันพระมหาษัตริย์ในยุคออนไลน์" | |||
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๓๐๖ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ คณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาติดตามและตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จัดสัมมนา "บทบาทสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติกับสถาบันพระมหาษัตริย์ในยุคออนไลน์" เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคออนไลน์อย่างถูกต้อง ตลอดจนเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และเสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักถึงความเป็นชาติไทย โดยมี พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นประธานเปิดการสัมมนา และนางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร ประธานอนุกรรมาธิการฯ กล่าวรายงาน จากนั้น เยี่ยมชมและศึกษาดูงาน "อุ่นไอรัก คลายความหนาว" เพื่อ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาที่คุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ ณ พระลานพระราชวังดุสิต | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติในสมัชชารัฐสภาเอเชีย (APA) ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย (Asian Parliamentary Assembly - APA) | |||
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๒๒๐ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และหัวหน้าคณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติในสมัชชารัฐสภาเอเชีย (APA) ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของสมัชชารัฐสภาเอเชีย (Asian Parliamentary Assembly - APA) ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีผู้แทนจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุม ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมดังกล่าว ข้อมูลโดยสังเขปเกี่ยวกับ APA และได้พิจารณาเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสังคมและวัฒนธรรมของ APA ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ รวมทั้งได้พิจารณาสถานที่จัดการประชุม ณ กรุงเทพมหานคร และการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านสารัตถะ ด้านการบริหารการประชุม และด้านสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการบูรณาการและขับเคลื่อนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพและการแพทย์แผนไทย | |||
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๐๐-๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการบูรณาการและขับเคลื่อนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพและการแพทย์แผนไทย นำโดย นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานพร้อมรับฟังบรรยายสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดบริการและการรองรับการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา แนวทางการจัดทำบริการเพิ่มพิเศษในโรงพยาบาลของรัฐ รวมทั้งการนำร่องและการพัฒนาสมุนไพรไทยอย่างครบวงจรตามนโยบายรัฐบาล ตลอดจนแนวทางการขับเคลื่อนการจัดทำสมุนไพรฮาลาล การนวด และสปาฮาลาล เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา แลนายแพทย์พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหาดใหญ่ และคณะผู้บริหารโรงพยาบาลหาดใหญ่ ให้การต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการบูรณาการและขับเคลื่อนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพและการแพทย์แผนไทย ศึกษาดูงานเพื่อรับฟังบรรยายสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของโรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา | |||
วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ โรงพยาบาลสิงหนคร จังหวัดสงขลา คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการบูรณาการและขับเคลื่อนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพและการแพทย์แผนไทย นำโดย นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานเพื่อรับฟังบรรยายสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารของโรงพยาบาลสิงหนคร เกี่ยวกับการดำเนินงาน การผลิต และการแปรรูปสมุนไพร รวมทั้งการบูรณาการการแพทย์แผนไทยกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ตลอดจนการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในระบบบริการสุขภาพ โดยมีนายแพทย์กู้ศักดิ์ บำรุงเสนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิงหนคร และคณะ ให้การต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
รับหนังสือจากกลุ่มชุมนุมสหกรณ์เกษตรชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เพื่อขอสนับสนุนและแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ | |||
วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๔๕ นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ โดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาศึกษาปรับปรุงพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.๒๕๒๗ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมด้วยพลเอก ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือจากกลุ่มชุมนุมสหกรณ์เกษตรชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย นำโดย นายสุรเชษฐ์ สีเหนี่ยง อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ฯ เพื่อขอสนับสนุนและแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ ตามที่คณะกรรมการพิจารณาศึกษาปรับปรุงฯ ได้มีการพิจารณาแก้ไข เนื่องจากเห็นว่าคณะกรรมการชุดได้กล่าวมีองค์ประกอบจากผู้แทนองค์กรและหน่วยงานผู้ส่วนได้เสีย ฝ่ายโรงงาน ฝ่ายชาวไร่อ้อย และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะและร่วมกันกลั่นกรอง พร้อมทั้งจะให้มีเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายทุกองค์กรที่มีส่วนได้เสียในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ด้าน พลเอก สิงห์ศึก กล่าวว่า การพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาศึกษาปรับปรุงฯ ได้มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีทั้งเสียงที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะรัฐมนตรีเสนอร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว จะมีการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้ง พลเอก ดนัย กล่าวว่า คณะกรรมการพิจารณาศึกษาปรับปรุงฯ ได้มีการพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาวะการซื้อขายในปัจจุบัน ในส่วนไหนที่ไม่มีผลกระทบต่อกิจการอ้อยและน้ำตาลก็นำมาพิจารณาแก้ไข ทั้งนี้ จะได้นำข้อมูลที่เสนอมาในวันนี้ไปพิจารณา เมื่อร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย ครั้งที่ ๔ ภายใต้หัวข้อ "ข้อเท็จจริงก่อนเจตคติ: การส่งเสริมการสนทนาหารือเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์" | |||
วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ - ๑๘.๐๐ นาฬิกา (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ ห้อง Trusteeship Council Chamber สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา คณะผู้แทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ รองประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ คนที่สอง ในฐานะหัวหน้าคณะ นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล พลตำรวจเอก เอก อังสนานนท์ ศาสตราจารย์พิเศษภัทรศักดิ์ วรรณแสง และนายฉัตรชัย ปิยะสมบัติกุล เข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายฝ่าย ครั้งที่ ๔ เพื่อเตรียมการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และเป็นปกติ (4th interactive multi-stakeholder hearing on Global Compact on Safe, Orderly and Regular Migration - GCM) ภายใต้หัวข้อ "ข้อเท็จจริงก่อนเจตคติ: การส่งเสริมการสนทนาหารือเรื่องการโยกย้ายถิ่นฐานโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์" (Facts instead of perceptions: Promoting evidence-based discussion on migration) โดยที่ประชุมได้รับฟังการนำเสนอโดยผู้อภิปรายนำ (panelists) และผู้เข้าร่วมการประชุมซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาคส่วนต่างๆ อาทิ ผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม องค์การระหว่างประเทศ สื่อสารมวลชน สถาบันการศึกษา รัฐสภา และภาคเอกชน ได้ร่วมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตั้งคำถาม และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ ในประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลด้านการโยกย้ายถิ่นฐานที่มีคุณภาพ (quality migration data) ที่ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เชื่อถือได้ มีบูรณาการ เข้าถึงได้ง่าย และมีราคาไม่แพง โดยข้อมูลที่มีคุณภาพจะมิใช่เพียงข้อมูลเชิงสถิติหรือตัวเลขเท่านั้น แต่จะเป็นข้อมูลสถานการณ์ด้านการโยกย้ายถิ่นฐานของประเทศ (country migration profile) ที่มีรายละเอียดในด้านต่างๆ ในเชิงลึก นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้สนับสนุนบทบาทของสื่อมวลชน ในการงดเว้นการนำเสนอข้อมูลหรือวาทกรรมที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ซึ่งสร้างทัศนคติเชิงลบต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐาน งดเว้นการเลือกใช้ถ้อยคำในเชิงเหยียดเชื้อชาติ สร้างความเกลียดชังคนต่างชาติ และการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนการวาดภาพให้ผู้โยกย้ายถิ่นต้องตกเป็นแพะรับบาปของปัญหาต่าง ๆ ในสังคม และส่งเสริมการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเชิงบวกต่อสังคมประเทศปลายทาง ในฐานะผู้ขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าเป็นภาระหรือผู้สร้างปัญหาให้แก่ประเทศผู้รับ ทั้งนี้ ที่ประชุมต่างเห็นพ้องว่ายังคงมีความท้าทายในการเก็บข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล รวมถึงการพัฒนาระบบข้อมูลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยมุ่งสร้างบูรณาการข้อมูลจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน เพื่อเป็นฐานในการกำหนดนโยบายโดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในเก็บข้อมูลการโยกย้ายถิ่นฐาน เช่น แอพลิเคชัน หรือ สื่อสังคมออนไลน์ (social media) | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
สัมมนา เรื่อง "การยกระดับ SMEs OTOP และโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดเพื่อผู้บริโภค" | |||
วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องสีมาธานีบอลรูม-เอ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดการสัมมนา เรื่อง "การยกระดับ SMEs OTOP และโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดเพื่อผู้บริโภค" โดยมี พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการ เป็นประธานเปิดการสัมมนา พันตำรวจโท พงษ์ชัย วราชิต รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม และประธานคณะอนุกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนและการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวรายงาน และนายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ให้การต้อนรับ การจัดสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าตามโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้สามารถพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาด มีคุณภาพและมีมาตรฐาน อันจะเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภค ตลอดจนการนำองค์ความรู้จากผู้สูงวัยซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการประกอบกิจการและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัย | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
สัมมนา เรื่อง "มาตรฐานธุรกิจบริการสุขภาพสู่การขับเคลื่อนเป็นศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) อย่างยั่งยืน" | |||
วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม ๔ ชั้น ๙ อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการบูรณาการและขับเคลื่อนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพและการแพทย์แผนไทย ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนา เรื่อง "มาตรฐานธุรกิจบริการสุขภาพสู่การขับเคลื่อนเป็นศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) อย่างยั่งยืน" โดยมีนายเจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวเปิดการสัมมนา และนายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ กล่าวรายงาน โดยผู้เข้าร่วมการสัมมนา จำนวน ๑๕๐ คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน ผู้แทนจากองค์กรและสมาคมต่างๆ รวมทั้งผู้ประกอบการ และนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยน ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การแสวงหาแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การบูรณาการมาตรฐานและคุณภาพของธุรกิจบริการสุขภาพที่เป็นรูปธรรม | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
กรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้การรับรอง H.E. Mr. Pirkka TAPIOLA เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย | |||
วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๓๐๕ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย นายกิตติ วะสีนนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง ให้การรับรอง H.E. Mr. Pirkka TAPIOLA เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทย ในโอกาสขอเข้าพบเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงาน ณ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา | |||
ระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก สกนธ์ สัจจนิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการ เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้เยี่ยมชมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารบริษัท วิน เอ็นเนอร์จี่ จำกัด วันต่อมา เดินทางไปศึกษาดูงานการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ของบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งเข้าเยี่ยมชมโครงการและนิทรรศการการพัฒนาพลังงานทดแทนภายในโครงการ รวมทั้งรับฟังบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระะบบโลจิสติกส์ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม | |||
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ท่าอากาศยานนครพนม จังหวัดนครพนม คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พลโท จเรศักณ์ิ อนุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระะบบโลจิสติกส์ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม รวมถึงการพัฒนาท่าอากาศยานนครพนมเพื่อขยายขีดความสามารถรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยมี นายประทีป ฤทธิกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม และนายอภิรมย์ มีแก้ว ผู้อำนวยการท่าอากาศยานนครพนม และคณะ ให้การต้อนรับ จากนั้น เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา เดินทางไปเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยังยืนและการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ทั้งด่านศุลกากรสะพานมิตรภาพไทย - ลาว ๓ และศูนย์การขนส่งชายแดนนครพนม | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานเพื่อรับฟังบรรยายสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มาตรการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว ณ จังหวัดนครราชสีมา | |||
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ จังหวัดนครราชสีมา คณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการ ศึกษาดูงานเพื่อรับฟังบรรยายสรุปและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มาตรการรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยว มาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับของกลาง และแนวทางการดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัยในขณะที่ขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานของตำรวจภูธรภาค ๓ โดยมี พลตำรวจโท ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๓ พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจภูธรภาค ๓ ให้การต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ ฯ ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและระบบมาตรฐานของประเทศ ณ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี | |||
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการ ศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีและระบบมาตรฐานของประเทศ พร้อมทั้งรับฟังการบรรยายการดำเนินงานของสถาบัน และเยี่ยมชมห้องปฎิบัติการ ผลงานการดำเนินงานของสถาบัน เช่น ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อินทรีย์เคมี (Organic Analysis) ห้องปฏิบัติการ (Temperature Standard) ห้องปฏิบัติการเวลาและความถี่ (Time and Frequency) เป็นต้น โดยมีนางอัจฉรา เจริญสุข ผู้อำนวยการสถาบัน ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ จะนำข้อมูลที่ได้รับมาพิจารณาหาแนวทางส่งเสริม สนับสนุนเทคโนโลยีและระบบมาตรฐานของประเทศให้เป็นที่ยอมรับและทัดเทียมต่างประเทศต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะอนุกรรมาธิการกิจการผู้สูงอายุ ในคณะกรรมาธิการการสังคม ฯ ดูงานและรับฟังบรรยายสรุประบบการดูแลผู้สูงอายุของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ณ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร | |||
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร คณะอนุกรรมาธิการกิจการผู้สูงอายุ ในคณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุประบบการดูแลผู้สูงอายุของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว โดยมี นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ให้การต้อนรับและบรรยายสรุป พร้อมนำชมการดำเนินงาน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
สัมมนาเรื่อง "ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา" | |||
วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑-๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดสัมมนาเรื่อง "ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา" โดยมี นายสมพร เทพสิทธา ประธานคณะอนุกรรมาธิการ เปิดการสัมมนา ศาสนาเป็นสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ เพราะศาสนามีบทบาทที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคนให้เป็นผู้พร้อมด้วยคุณภาพและคุณธรรม พัฒนาสังคมให้มีความสงบเรียบร้อย พัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาเป็นเวลานาน เป็นศาสนาที่พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ทรงเคารพนับถือ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาจึงสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ จะแยกออกจากกันไม่ได้ พระพุทธศาสนาเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่เติบโตเจริญงอกงามให้ความร่มเย็นเป็นสุข แต่ขณะนี้ราก ลำต้น และใบของต้นไม้กำลังถูกทำลาย ควรที่จะร่วมกันและผนึกกำลังกันรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงคงอยู่ต่อไป ดังนั้น คณะอนุกรรมาธิการฯ จึงเห็นควรจัดสัมมนาเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคง และหาวิธีการและมาตรการในการป้องกันแก้ไขภัยและอันตรายที่เกิดแก่พระพุทธศาสนา พร้อมแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมความมั่นคงของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระพุทธศาสนามีความมั่นคงสถิตสถาพรคู่กับสถาบันชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ณ จังหวัดขอนแก่น คณะอนุกรรมาธิการการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน และการพัฒนาระบบราชการ ศึกษาดูงานและรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (The Office of Strategy Management (OSM)) | |||
วันที่ ๑๘-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ จังหวัดขอนแก่น คณะอนุกรรมาธิการการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน และการพัฒนาระบบราชการ นำโดย นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานและรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (The Office of Strategy Management (OSM)) และเรื่องคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด (ก.ธ.จ.) โดยมีนายสันติ เหล่าบุญเสงี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะให้การต้อนรับ จากนั้น เดินทางไปศึกษาดูงานโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์พระธาตุขามแก่น และโครงการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางโครงการพัฒนาอาหารเกษตรปลอดภัย | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ศึกษาดูงานและรับฟังข้อมูลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา | |||
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา คณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส คณะอนุกรรมาธิการเด็กและเยาวชน ร่วมกับคณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรมและวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ นำโดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ศึกษาดูงานและรับฟังข้อมูลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง การมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการส่งเสริมคุณธรรมและวิถีประชาธิปไตย และการดำเนินงานของสภาเด็กและเยาวชนระดับอำเภอและจังหวัด | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ประชุมหารือร่วมกับส่วนราชการและเครือข่าย ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณปริสุทโธ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา | |||
วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมหลวงพ่อคูณปริสุทโธ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา คณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ร่วมกับคณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรมและวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน คณะอนุกรรมาธิการกิจการเด็กและเยาวชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของ และคณะอนุกรรมการพบปะและช่วยเหลือบุคคลด้อยโอกาส ในคณะกรรมการดำเนินงานโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชน นำโดย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ประชุมหารือร่วมกับส่วนราชการและเครือข่าย พร้อมทั้งรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านการดูแลเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส รวมถึงรับฟังปัญหาและอุปสรรคของจังหวัดนคราชสีมา และการดำเนินการของสภาเด็กและจังหวัด จากนายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด สภาเด็กและเยาวชนจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัด | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. .... แถลงถึงสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย | |||
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องโถง อาคารรัฐสภา 1 นายวรพล โสคติยานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. .... แถลงถึงสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้เป็นกฎหมายว่า สำคัญต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม โดยกำหนดให้พื้นที่ภาคตะวันออกที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูงในเบื้องต้น คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การจัดให้มีการบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ลดอุปสรรคและต้นทุนในการประกอบกิจการ และพัฒนาเมืองให้ทันสมัยระดับนานาชาติ น่าอยู่ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาประเทศมีความยั่งยืนเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความสำคัญอย่างน้อย ๑๐ ประเภทที่กำหนดไว้ ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัล และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร นอกจากนี้ ให้มีคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ และรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ และรัฐมนตรีอีก ๑๔ กระทรวง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และมีหน่วยงานหลัก ภาคเอกชน เป็นกรรมการ ฯลฯ โดยมีอำนาจสำคัญๆ อาทิ ประกาศพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ อุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และสิทธิประโยชน์ที่จะให้แก่ผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่ง การกำหนดกระบวนการพิจารณาการร่วมลงทุนกับเอกชน หรือให้เอกชนมาร่วมลงทุน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
แถลงผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... หลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติในวาระที่ ๓ เห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมาย | |||
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... นำโดย พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ แถลงผลการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... หลังจากที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติในวาระที่ ๓ เห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายว่า โดยที่มีผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๓๗ จำนวนมากที่ไม่ส่งเงินสมทบ ๓ เดือนติดต่อกัน หรือส่งเงินสมทบไม่ครบ ๙ เดือนภายในระยะเวลา ๑๒ เดือน ทำให้ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมและไม่อาจกลับเป็นผู้ประกันตนได้อีก ดังนั้น เพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ผู้ประกันตนในการขอกลับเป็นผู้ประกันตนได้ จึงได้ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้นซึ่งจะมีกลุ่มแรงงานผู้ได้รับสิทธิ์กว่า ๑ ล้านคนสามารถกลับเข้ามาสู่ระบบการประกันตนอีกครั้ง ทั้งนี้ หลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ สำนักงานประกันสังคมต้องแจ้งให้ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิ์รับทราบ โดยผู้ที่ประสงค์จะกลับเป็นผู้ประกันตนสามารถดาวน์โหลดเอกสารแบบยื่นจากเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคมและดำเนินการยื่นต่อสำนักงานฯ ได้ภายใน ๑ ปี และต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละ ๔๓๒ บาทตามเดิมตั้งแต่เดือนแรกที่มีการยื่นขอ ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ยังได้มีข้อเสนอแนะให้ขยายเวลาในการแสดงความจำนงเป็นผู้ประกันตนให้ยาวขึ้นเพื่อให้ผู้ประกันตนที่ประสงค์รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว สามารถมาสมัครตามมาตรา ๓๙ ได้ และควรมีการแก้ไขมาตรา ๔๑(๔) (๕) ที่กำหนดให้ผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ สิ้นสุดลงเนื่องจากไม่ส่งเงินสมทบ ๓ เดือนติดต่อกันหรือภายในระยะเวลา ๑๒ เดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ ๙ เดือน เนื่องจากเป็นผู้ว่างงาน การไม่ส่งเงินสมทบจากสาเหตุเจ็บป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือบ้านเป็นเวลานาน ทำให้ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะส่งเงินสมทบ หรือกรณีให้หักเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารซึ่งอาจจะเกิดปัญหาจากระบบการหักเงิน หรือเกิดกรณีมีเงินในบัญชีไม่ไม่เพียงพอให้ธนาคารหักนำส่งเงินสมทบ หรือการไม่ได้นำส่งเงินสมทบจากปัจจัยอื่น ดังนั้น ควรให้มีการผ่อนปรนให้แก่ผู้ประกันตนที่ประสบปัญหาเหล่านี้เป็นการเฉพาะรายได้ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ บันทึกเทปสนทนาในรายการ "เคลียร์คัดชัดเจน" ในประเด็น "การแก้ไขร่าง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า : ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน" | |||
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๑๐ นาฬิกา ณ ห้องส่ง ๓ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล ประธานกิตติมศักดิ์ในคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรองประธานกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ บันทึกเทปสนทนาในรายการ "เคลียร์คัดชัดเจน" ในประเด็น "การแก้ไขร่าง พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า : ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน" ออกอากาศในวัน ศุกร์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๕-๑๑.๓๐ นาฬิกา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ศึกษาดูงาน ณ บริษัท เบตเตอร์ เวิล์ด กรีน จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไววรอนเม้นท์ จำกัด | |||
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ บริษัท เบตเตอร์ เวิล์ด กรีน จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอิร์ธ เท็ค เอนไววรอนเม้นท์ จำกัด คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้บริหารของบริษัท เกี่ยวกับการกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมแบบครบวงจร การนำกลับไปใช้ใหม่ และการนำขยะไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนจากกากขยะอุตสาหกรรม พร้อมทั้งเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าจากวัสดุจากกากขยะที่ไม่เป็นอันตราย จากนั้น ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ เกี่ยวกับการกำจัดขยะ การใช้เชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบทดแทนในหม้อเผาปูนซีเมนต์ การปรับคุณภาพเชื้อเพลิงหรือวัตถุดิบทดแทน การผลิตเชื้อเพลิงทดแทนจากขยะชุมชน และการผลิตเชื้อเพลิงทดแทนจากกากอุตสาหกรรม และเยี่ยมชมโรงงานปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงทดแทนหรือวัตถุดิบทดแทน โรงงานผลิตเชื้อเพลิงทดแทนจากขยะชุมชน และโรงงานผลิตเชื้อเพลิงทดแทนจากกากอุตสาหกรรม ณ บริษัท เอสซีไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คณะผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม | |||
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ กระทรวงคมนาคม คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ประชุมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม คณะผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม เกี่ยวกับผลการดำเนินงานในภาพรวมของกระทรวงคมนาคม | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ศึกษาดูงานและจัดเสวนารับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. .... ณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี จังหวัดชลบุรี | |||
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี จังหวัดชลบุรี คณะกรรมการพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมการ ศึกษาดูงานและจัดเสวนารับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางปฏิรูปด้านกีฬา และเพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนสนทนาและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับเหตุผล ความจำเป็น และผลกระทบต่างๆที่อาจเกิดจากการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ และเพื่อนำข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะที่ได้จากการเสวนาและดูงานมาประกอบการพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. .... ต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ให้การรับรอง H.E. Mr. Meir Shlomo เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย | |||
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๔๕ นาฬิกา ณ ห้อง ๓๐๙ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ให้การรับรอง H.E. Mr. Meir Shlomo เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับรัฐอิสราเอล | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ศึกษาดูงานและหารือร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา ณ โรงเรียนทับทอง เขตจุตจักร กรุงเทพฯ | |||
วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๑๕ นาฬิกา ณ โรงเรียนทับทอง เขตจุตจักร กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมาธิการกิจการเด็กและเยาวชน ในคณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรมและวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน ร่วมกับมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ นำโดย คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี รองประธานกรรมาธิการ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานและหารือร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่ส่งเสริมคุณธรรมและวิถีประชาธิปไตย ปัญหาของเด็กปฐมวัย การส่งต่อชั้นเรียนระหว่างปฐมวัยและประถมศึกษา รวมถึงการใช้เครื่องมือพัฒนาทักษะทางสมอง (EF) มาช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ศึกษาดูงานในพื้นที่จุดผ่านแดนเขาวง ณ จังหวัดตราด | |||
วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ จังหวัดตราด คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการ ศึกษาดูงานในพื้นที่จุดผ่านแดนเขาวง จากนั้น ประชุมหารือร่วมกับกรมเจ้าท่า และกรมธนารักษ์ เกี่ยวกับแผนการพัฒนาท่าเรือคลองใหญ่ซึ่งเป็นท่าเรือที่สร้างเสร็จแล้ว แต่ปัจจุบันยังขาดหน่วยงานเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งนี้ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาท่าเรือต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ศึกษาดูงานและรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (The Office of Strategy Management (OSM ) | |||
วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ จังหวัดนครปฐม คณะอนุกรรมาธิการการปกครอง การบริหารราชการแผ่นดิน และการพัฒนาระบบราชการ ในคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานและรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (The Office of Strategy Management (OSM ) เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และทิศทางการพัฒนาของกลุ่มจังหวัดในอนาคต และการดำเนินงานของคณะกรรมการธรรมาภิบาล (ก.ธ.จ.) โดยมี นายภิญโญ ประกอบผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมและคณะ ให้การต้อนรับ จากนั้น ศึกษาดูงานโครงการเพิ่มศักยภาพสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย ๔.๐ ของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมบริษัท ไทยรอแยลฟรอเซ็นฟู๊ด จำกัด และบริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) | |||
วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก ยุทธศิลป์ โดยชื่นงาม เลขานุการคณะกรรมาธิการ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการสนับสนุนภารกิจพาณิชย์ อุตสาหกรรม และแรงงาน ศึกษาดูงานและเยี่ยมชมบริษัท ไทยรอแยลฟรอเซ็นฟู๊ด จำกัด และบริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าปัจจุบันภาคการผลิต โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลักษณะงานประเภท 3D ประกอบด้วย งานสกปรก (dirty) งานอันตราย (dangerous) และงานยาก (demanding) แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๕-๙๐ เป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะจากประเทศเมียนมา เนื่องจากแรงงานไทยไม่นิยมทำงานประเภทดังกล่าว ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการจะนำข้อมูลที่ได้รับมาทำการศึกษาวิเคราะห์หาแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อลดการพึ่งพาแรงงานต่างด้าวต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แถลงแสดงความกังวลและห่วงใยต่อกรณีที่มีกลุ่มบุคคลพร้อมด้วยอาวุธเข้าไปพักแรมบริเวณพื้นที่หวงห้ามและคุกคามชีวิตสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก | |||
วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลโท ชัยยุทธ พร้อมสุข ประธานคณะกรรมาธิการ ร่วมกันแถลงแสดงความกังวลและห่วงใยต่อกรณีที่มีกลุ่มบุคคลพร้อมด้วยอาวุธเข้าไปพักแรมบริเวณพื้นที่หวงห้ามและคุกคามชีวิตสัตว์ป่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก ซึ่งถือเป็นการละเมิดพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ พร้อมแสดงความชื่นชมเจ้าหน้าที่ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่ร่วมกันแสดงออกถึงความรัก ห่วงใยต่อชีวิตสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อมซึ่งกำลังถูกทำลาย โดยขอให้ทุกฝ่ายมั่นใจในกฎหมาย กฎ ระเบียบที่จะบังคับใช้สำหรับผู้กระทำความผิด นอกจากนี้ ยังได้กล่าวยกย่อง สดุดีต่อการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ซื่อสัตย์ ทุ่มเท เสียสละ รวมทั้งมีการบังคับใช้กฎหมายสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเคร่งครัดเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ชนรุ่นหลังสืบต่อไป พลโท ชัยยุทธ พร้อมสุข กล่าวด้วยว่า คณะกรรมาธิการจะเชิญเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพบเพื่อให้กำลังใจและแสดงความชื่นชมต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม ๓๑๑ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบปะหารือและรับฟังสรุปผลการดำนินงานด้านระบบการแพทย์ปฐมภูมิ และคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluser) รวมทั้งปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดลำพูน | |||
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ จังหวัดลำพูน คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดยนายเจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ พบปะหารือและรับฟังสรุปผลการดำนินงานด้านระบบการแพทย์ปฐมภูมิ และคลินิกหมอครอบครัว (Primary Care Cluser) รวมทั้งปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดลำพูน โดยนายสำเริง ไชยเสน รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำพูน และคณะผู้บริหารโรงพยาบาลลำพูน ตลอดจนประธานเครือข่ายระบบริการปฐมภูมิจังหวัดลำพูนให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับเส้นทางการค้าระหว่างจีนตอนใต้และประเทศไทย(จังหวัดเชียงราย) | |||
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับเส้นทางการค้าระหว่างจีนตอนใต้และประเทศไทย(จังหวัดเชียงราย) การขนส่งสินค้าล้านช้าง - แม่น้ำโขง การจัดเก็บรายได้ มูลค่าการค้า สินค้านำเข้า - ส่งออกที่สำคัญ การอนุญาตจัดตั้งและเลิกการดำเนินการคลังสินค้าทัณฑ์บน โรงพักสินค้าที่มั่นคง และท่าเรือรับอนุญาต รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการผ่านแดนสินค้า การนำเข้า - ส่งออกสินค้าของไทย จากนั้น ได้เดินทางไปดูการขนส่งสินค้าของท่าเรือที่สำคัญ เช่น ท่าเรือเทศบาล ท่าเรือปศุสัตว์ ท่าเรือพาณิชย์ล้านช้าง | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานและเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดเชียงราย | |||
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมพญาพิภักดิ์ ศาลากลาง จังหวัดเชียงราย คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ เดินทางศึกษาดูงานและเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดเชียงรายเกี่ยวกับสภาพการค้า มูลค่าการค้าและการกำกับดูแลการนำเข้า - ส่งออกสินค้าเกษตร สถานการณ์การค้าชายแดน แนวทางการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร การลงทุนภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดเชียงราย โครงการ SME Support&Rescue Center กองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวทางประชารัฐประจำจังหวัดเชียงราย การพิจารณาแก้ไขผังเมืองรวมจังหวัดเชียงราย จากนั้น เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา ศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับสภาพการค้าชายแดนด่านศุลกากรเชียงของ พิธีการและรายการสินค้านำเข้า - ส่งออกสินค้าที่สำคัญ กระบวนการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า - ขาออก การตรวจสินค้าด้วยเครื่อง X-Ray วิธีการหลักการตรวจสอบการสำแดงเท็จ การตรวจสอบการนำเข้า - ส่งออกสินค้าควบคุม และสินค้าตามมาตรการต่าง ๆ และการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตร ณ ห้องประชุมด่านศุลกากรเชียงของ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบปะหารือและรับฟังสรุปผลการดำนินงาน รวมทั้งปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดลำปาง | |||
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ จังหวัดลำปาง คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดยนายเจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ พบปะหารือและรับฟังสรุปผลการดำนินงาน รวมทั้งปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยมีนายสุรพล บุรินทราพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางพร้อมด้วยผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ ๑ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และคณะผู้บริหาร และบุคลากรโรงพยาบาลลำปาง ให้การต้อนรับและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงานพบปะและหารือ ร่วมกับหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ณ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ | |||
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก รังสาทย์ แช่มเชื้อ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ เดินทางศึกษาดูงานพบปะและหารือ ร่วมกับหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณในภาพรวมของจังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือจากสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (ECONTHAI) | |||
วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการฯ และพลเอก ศุภกร สงวนชาติศรไกร กรรมาธิการ รับหนังสือจากสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (ECONTHAI) นำโดยนางเนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างฯ เพื่อยื่นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน ๒๕๔๑ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... ซึ่งกำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมทั้งผลกระทบจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่กำลังจะปรับใหม่ ซึ่งจะมีผลในเดือนเมษายน ๒๕๖๑ นี้ ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ได้รวบรวมจากการจัดสัมมนาเรื่อง ความเคลื่อนไหวกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ผู้ประกอบการต้องรู้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ที่ผ่านมา ด้าน พลเอก สิงห์ศึก กล่าวว่า จะนำข้อมูลดังกล่าวไปศึกษา ทั้งนี้ ส่วนใดที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นกฎหมายที่สามารถทำได้จะนำไปปฏิบัติ ส่วนใดเป็นกฎระเบียบที่เกิดขึ้นใหม่ หรือมีเหตุผลอย่างไรก็จะแจ้งกลับไปให้ทราบต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ รองประธานคณะอนุกรรมการเตรียมการดำเนินงานโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชน ณ จังหวัดสุพรรณบุรี และเลขานุการคณะกรรมาธิการการสังคมฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมสนทนาในรายการ "มองรัฐสภา" | |||
วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๕-๐๙.๕๕ นาฬิกา ณ ห้องส่งสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย พลโท ชัยยุทธ พร้อมสุข รองประธานคณะอนุกรรมการเตรียมการดำเนินงานโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชน ณ จังหวัดสุพรรณบุรี และนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ เลขานุการคณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมสนทนาในประเด็น "ติดตามผล สนช.ลงพื้นที่พบชาวสุพรรณบุรี" ในรายการ "มองรัฐสภา" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์รัฐสภา ดิจิทัลทีวี ช่อง ๑๐ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) และสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... บันทึกเทปสนทนาในรายการ "เคลียร์คัดชัดเจน" ณ ห้องส่ง ๓ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย | |||
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องส่ง ๓ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... บันทึกเทปสนทนาในรายการ "เคลียร์คัดชัดเจน" ในประเด็น "สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ." ออกอากาศในวันพฤหัสบดีที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๕ - ๑๑.๓๐ นาฬิกา ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การบูรณาการกลไกในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์" จัดโดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาติดตามและตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ณ อาคารรัฐสภา ๓ | |||
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๔.๓๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๓๖๐๑ ชั้น ๖ อาคารรัฐสภา ๓ คณะอนุกรรมาธิการศึกษาติดตามและตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การบูรณาการกลไกในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์" โดยมี พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการ เปิดการสัมมนา และนางสาวจินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร โฆษกคณะกรรมาธิการ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ กล่าวรายงาน การจัดสัมมนาครั้งนี้นอกจากจะเป็นการติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการในหน่วยงานภาครัฐในการบูรณาการร่วมกันในด้านการดำเนินงานที่เกี่ยวกับสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และทัศนคติในทางวิชาการเกี่ยวกับการดำเนินการป้องกันการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนรับทราบความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการดำเนินการด้านสื่อสังคมออนไลน์ในยุคปัจจุบัน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะอนุกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ณ ชายทะเลบางขุนเทียน กรุงเทพฯ | |||
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ โรงเรียนพิทยาลงกรณ์ และชายทะเลบางขุนเทียน แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ คณะอนุกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ในคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโดยพลเรือเอก วีระพันธ์ สุขก้อน ประธานอนุกรรมาธิการ ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เยี่ยมชมและตรวจสอบพื้นที่การใช้ Pubilc Free Wifi บริเวณหาดป่าตองและเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะ | |||
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ จังหวัดภูเก็ต คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดยนางเสาวณี สุวรรณชีพ รองประธานคณะกรรมาธิกา เยี่ยมชมและตรวจสอบพื้นที่การใช้ Pubilc Free Wifi บริเวณหาดป่าตองและเทคโนโลยีการบริหารจัดการขยะ จากนั้น เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา รับฟังบรรยายการดำเนินงานของบริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง ผลงานโครงการจัดการพื้นที่และการพัฒนากฎหมายผังเมือง รวมทั้งการให้บริการ Smart Bus โดย ดร.เผด็จ จินดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... ได้แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฯ ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ | |||
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... นำโดย พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญ แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่า ขณะนี้ กมธ. ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ. ทั้งฉบับเรียบร้อยแล้ว โดยได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังที่ได้มีการลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานราชการ และเครือข่ายภาคประชาชน รวม ๖ ครั้ง จำนวน ๕๐ จังหวัด ๑๗ ลุ่มน้ำ มีผู้ร่วมรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด ๑,๕๘๒ คน สำหรับเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ. ได้มีการปรับแก้ไขประมาณ ๖๐% อาทิ การกำหนดให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเป็นกฎหมายกลางในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ การแก้ไขโครงสร้างขององค์กรในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ส่วนประเด็นการแบ่งประเภทการใช้น้ำนั้นได้แบ่งเป็น ๓ ประเภทตามร่างเดิมที่เสนอมา ซึ่ง กมธ.เห็นว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จำเป็นต้องให้ระยะเวลาสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) ซึ่งจัดตั้งโดยคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ ๔๖/๒๕๖๐ ไปดำเนินการออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขต่าง ๆ ในการจัดเก็บค่าใช้น้ำเพื่อให้เกิดความรอบคอบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าเมื่อกฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้วจะสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ กมธ.จึงได้กำหนดแผนรับฟังความคิดเห็น โดยระหว่างวันที่ ๖-๒๐ ก.พ. นี้จะเผยแพร่ร่าง พ.ร.บ. ที่ผ่านการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ผ่านทางเว็บไซต์สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเว็บไซต์ของกมธ. จากนั้น จะนำมาวิเคราะห์และเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ผ่านทางเว็บไซต์อีกครั้งในวันที่ ๒๘ ก.พ. - ๑๔ มี.ค. ขณะเดียวกัน จะประสานกระทรวงมหาดไทยให้แต่ละจังหวัดนำแบบสอบถามไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยให้ส่งกลับมาภายในวันที่ ๒๐ ก.พ. นอกจากนี้ ยังจะมีการจัดสัมมนาในวันที่ ๒๑ ก.พ. ระหว่างเวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ กรมชลประทาน โดยเชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ๔๒ หน่วยงาน ผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำ ๒๕ ลุ่มน้ำ มาร่วมการสัมมนา หลังจากนั้น กมธ.จะส่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับที่ผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้วไปยังรัฐบาลเพื่อให้ความเห็นในการขอแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในเดือนเมษายน ๒๕๖๑ ทั้งนี้ กมธ.ขอยืนยันว่า ได้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ด้วยความรอบคอบเพื่อไม่เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง หากร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้วจะถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา ๒๕๘ ช. ด้านอื่น ๆ (๑) ที่ได้บัญญัติไว้ว่า ให้มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรมและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำในทุกมิติ รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศประกอบกัน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ศึกษาดูงาน ณ ดูงานหอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย จังหวัดเพชรบูรณ์ | |||
วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๔.๓๐ นาฬิกา ณ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ คณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานคณะกรรมาธิการ ดูงานหอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดเพชรบูรณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมี ดร.เสกสรรค์ นิยมเพ็ง นายกเทศมนตรีเมืองเพชรบูรณ์ ให้การต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยี่ยมชมและศึกษาดูงานโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายและบริหารจัดการระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันแบบบูรณาการ จังหวัดภูเก็ต | |||
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ ศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เขต ๑๘ จังหวัดภูเก็ต คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการ เยี่ยมชมและศึกษาดูงานโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายและบริหารจัดการระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันแบบบูรณาการ โดยมี นายมาหะมะพีสกรี วาแม ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ให้การต้อนรับ จากนั้น รับฟังการบรรยายนโยบายการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต จากนายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และเยี่ยมชม Phuket Smart City Innovation Park พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับภาพรวมการดำเนินโครงการระบบการบริหารจัดการ Smart City จาก นายประชา อัศวธีระ ผู้จัดการสาขาภาคใต้ตอนบน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สาขาภูเก็ต และเยี่ยมชม Hatch Co-Working Space ในการช่วยสนันสนุนกลุ่มธุรกิจ Startup ของจังหวัดภูเก็ต โดยคณะกรรมาธิการจะนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับมาพิจารณาหาแนวทางสนับสนุนส่งเสริมนโยบาย Smart City ในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พิธีเปิดโครงการ "สัมมนาเครือข่ายเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์" ณ หอประชุมศูนย์ราชการ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ | |||
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ หอประชุมศูนย์ราชการ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ คนที่สอง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเครือข่ายเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างถูกต้อง ตลอดจนเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้างให้ประชาชนในชุมชนตระหนักถึงความเป็นชาติไทยด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมี นายสุรศักดิ์ มุกประดับ กรรมาธิการวิสามัญ ในฐานะรองประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คนที่สอง กล่าวรายงาน และนายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ มีการสัมมนา เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ...." ณ ห้อง ๒๑๓ - ๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ | |||
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐-๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๒๑๓ - ๒๑๖ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมการวิชาการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า จัดสัมมนา เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ...." โดยมี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง กล่าวเปิดการสัมมนา และนายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะรองประธานอนุกรรมการกำหนดแผนการดำเนินงานเสริมสร้างความรู้ในวงงานนิติบัญญัติ ในคณะกรรมการวิชาการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวรายงาน การปฏิรูประบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำถือเป็นประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งของประเทศไทย แม้ว่าจะมีการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๙ โดยยึดหลักการบริหารจัดการน้ำในระดับลุ่มน้ำอย่างบูรณาการและยั่งยืน บนพื้นฐานของการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นทีแต่พบว่ายังไม่สามารถนำไปสู่การดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งยังมีข้อจำกัดต่อการบูรณาการแผนงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานราชการทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นจึงทำให้การดำเนินการขาดเอกภาพ ประกอบกับการมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีกฎหมายบางส่วนยังมีความซ้ำซ้อน ขัดแย้ง ไม่เชื่อมโยง และไม่ครอบคลุมการปฏิบัติภารกิจที่จำเป็นทั้งหมดในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพและไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน คณะกรรมการวิชาการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและพัฒนางานด้านวิชาการ ตลอดจนส่งเสริมและจัดให้มีการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการในอันที่จะสนับสนุนกระบวนการปฏิบัติงานด้านนิติบัญญัติบนพื้นฐานทางวิชาการให้แก่สมาชิกสนช. คณะกรรมการฯ จึงได้ร่วมกันจัดการสัมมนาเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและสนับสนุนข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. .... แนวนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนผลการศึกษาวิเคราะห์ให้แก่สมาชิก สนช. อันจะทำให้กระบวนการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
พิธีปิดพร้อมมอบสัมฤทธิบัตรและให้โอวาทแก่ครูและนักเรียน ที่เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมผู้นำนักประชาธิปไตยสำหรับเยาวชนด้วยกระบวนการลูกเสือ ณ อาคารอเนกประสงค์ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง | |||
วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ อาคารอเนกประสงค์ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง นางสาวสุภางค์จิตต ไตรเพทพิสัย รองเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะประธานอนุกรรมการดำเนินโครงการพัฒนาผู้นำนักประชาธิปไตยสำหรับเยาวชนด้วยกระบวนการลูกเสือ เป็นประธานในพิธีปิดพร้อมมอบสัมฤทธิบัตรและให้โอวาทแก่ครูและนักเรียน ที่เข้าร่วมกิจกรรมชุมนุมผู้นำนักประชาธิปไตยสำหรับเยาวชนด้วยกระบวนการลูกเสือ โดยเป็นโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา (กลุ่มจังหวัดภาคเหนือ) จำนวน ๑๒ จังหวัด ๔๑ โรงเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๖๔ คน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการสังคม ฯ เข้าร่วมประชุมสมัชชาคนพิการ ครั้งที่ ๔ โซนภาคใต้ เรื่อง "สภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด:กลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายระดับจังหวัด" | |||
วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต คณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมสมัชชาคนพิการ ครั้งที่ ๔ โซนภาคใต้ เรื่อง "สภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด:กลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายระดับจังหวัด" และเวทีอภิปรายเรื่อง "การบูรณาการประเด็นคนพิการเข้ากับการพัฒนากระแสหลัก:คนพิการกับหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน" โดยมีนายมณเฑียร บุญตัน รองประธานคณะกรรมาธิการฯ และในฐานะประธานสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย เปิดการประชุมและบรรยายพิเศษเรื่อง "บทบาทสภาคนพิการทุกประเภทจังหวัด : กลไกขับเคลื่อนนโยบายระดับจังหวัด" | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
ณ โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ หารือและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากคนพิการ ในกิจกรรม "คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการพบคนพิการ" | |||
วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๐๐-๑๘.๓๐ นาฬิกา ณ โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ ในคณะกรรมาธิการการสังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นายมณเฑียร บุญตัน รองประธานคณะกรรมาธิการ ฯ และในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการ หารือและรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากคนพิการ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด ศูนย์บริการคนพิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกิจกรรม "คณะอนุกรรมาธิการกิจการคนพิการพบคนพิการ" โดยมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ ๑. การจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการ ๒. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด ๓. การผนวกรวมประเด็นคนพิการเข้ากับการพัฒนากระแสหลัก ๔. Smart City ที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ๕. การบูรณาการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ๖. การคมนาคมที่ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดโครงการ "Recycle near You" | |||
วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณด้านหน้าสโมสรรัฐสภา คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดโครงการ "Recycle near You" ในพื้นที่รัฐสภา โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวเปิดโครงการ และพลโท ชัยยุทธ พร้อมสุข ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวรายงาน ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม สาเหตุหนึ่งมาจากการไม่คัดแยกขยะ และไม่รู้คุณค่าของการนำขยะกลับมารีไซเคิลหรือใช้ประโยชน์ใหม่ อัตราการนำขยะมารีไซเคิลหรือใช้ประโยชน์ใหม่ภายในประเทศ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๘) มีเพียงร้อยละ ๑๙.๒๒ ซึ่งถือว่าอยู่ในอัตราที่ไม่สูงและคงที่ การรณรงค์สร้างจิตสำนึกของประชาชนไม่ต่อเนื่องและทั่วถึง ส่งผลต่อการจัดการขยะในภาพรวมของประเทศ คณะกรรมาธิการได้เห็นถึงความสำคัญในการรณรงค์การแยกและทำความสะอาดขยะก่อนทิ้ง จึงได้จัดทำโครงการ "Recycle near You" โดยนำ "ตู้รับซื้อขวดอัตโนมัติ" (Refun Machine) มาติดตั้งภายในรัฐสภาเพื่อเป็น "ต้นแบบ-ตัวแบบ" ในการจุดประกายความคิดให้กับบุคคลในวงงานรัฐสภา หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่มาร่วมประชุม หรือติดต่อราชการบริเวณรัฐสภาเห็นความสำคัญของการคัดแยกขยะ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการไทยที่สามารถสร้างนวัตกรรมจากปัญหาวิกฤตด้านการจัดการขยะของประเทศ โดยสอดประสานกับวิถีคนเมืองและความศรัทธาคนไทยที่ "นิยมการบริจาค" เพื่อสาธารณกุศล รวมทั้งสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อขยายผลไปยังองค์กร สถาบันการศึกษา และชุมชนอื่น ๆ ต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||