![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เดินทางศึกษาดูงานโรงงานผลิตน้ำยางพาราข้น สำหรับการทำถุงมือทางการแพทย์ ณ จังหวัดสงขลา | |||
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ จังหวัดสงขลา คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการฯ เดินทางศึกษาดูงานโรงงานผลิตน้ำยางพาราข้น สำหรับการทำถุงมือทางการแพทย์ จากนั้นเข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ "กนอ. สานพลังประชารัฐ ยกระดับ SME ยางไทยก้าวไกลในนิคมอุตสาหกรรม" และร่วมศึกษาดูงานโครงการ Start up โดยมีกลุ่มสหกรณ์ และผู้ประกอบการ SME รายย่อย ได้นำน้ำยางพารามาแปรรูปเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้ศึกษาดูงานโรงงานผลิตยางแท่ง สำหรับการนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการใช้ยางภายในประเทศอีกด้วย | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ฯ เข้าเยี่ยมชมงาน ThaiFex world food Asia ๒๐๑๗ | |||
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ Impact Exhibition and Convention Center คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่สอง นายสาธิต ชาญเชาว์กุล รองประธานคณะกรรมาธิการฯ คนที่สาม พลเอก ศุภกร สงวนชาติศรไกร และพลตรี พัลลภ เฟื่องฟู กรรมาธิการ เข้าเยี่ยมชมงาน ThaiFex world food Asia ๒๐๑๗ โดยมี นายสุพพัฒ อ่องแสงคุณ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปภาพรวมการจัดงานครั้งนี้ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุแบบครบวงจร ศึกษาดูงานด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ ณ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวัดห้วยเกี๋ยง และบ้านมีสุข เนอร์ซิ่งโฮม | |||
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ จังหวัดเชียงใหม่ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุแบบครบวงจร ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย ศาสตราจารย์คลินิกนิเวศน์ นันทจิต ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ศึกษาดูงานด้านการดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ ณ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุวัดห้วยเกี๋ยง และบ้านมีสุข เนอร์ซิ่งโฮม | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประชุมร่วมกับผู้บริหารของบริษัทบริษัท อาราตะ จำกัด จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น | |||
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐-๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ บริษัท อาราตะ จำกัด จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดยพลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร ประธานคณะกรรมาธิการฯ ประชุมร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ โดยได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการการจัดส่งสินค้า ไปยังผู้ค้ารายย่อยทั่วประเทศญี่ปุ่น ในฐานะที่เป็นบริษัทด้านการจัดการคลังสินค้าที่สำคัญของประเทศญี่ปุ่น | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประชุมกับผู้อำนวยการตลาดค้าส่งกลางซัปโปโร ณ ตลาดค้าส่งกลางซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น | |||
วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๕.๔๕ - ๐๘.๐๐ นาฬิกา ณ ตลาดค้าส่งกลางซัปโปโร (Sapporo central wholesale market) จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดยพลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร ประธานคณะกรรมาธิการฯ ร่วมประชุมกับผู้อำนวยการตลาดค้าส่งกลางซัปโปโร เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการซื้อขายสินค้า การประมูลสินค้า ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เช่น อาหารทะเล ผักและผลไม้ เป็นต้น | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะผู้แทนกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-มองโกเลีย เข้าเยี่ยม ประธานรัฐสภามองโกเลีย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มองโกเลีย | |||
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๒๐ นาฬิกา (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย คณะผู้แทนกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-มองโกเลีย นำโดย นายโกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ ประธานกลุ่มมิตรภาพฯ เข้าเยี่ยมคารวะ H.E. Mr. Miyegombo Rnkhbold ประธานรัฐสภามองโกเลีย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-มองโกเลีย ในโอกาสเดินทางเยือนเพื่อร่วมประชุมทวิภาคี ระหว่างวันที่ ๒๖-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โดยคณะผู้แทนไทยได้นำเรียนความปรารถนาดีจากศาสตราจารย์พิเศษพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติทั้งสอง มายังท่านประธานรัฐสภามองโกเลีย พร้อมทั้งขออภัยที่ไม่สามารถเดินทางมาเยี่ยมเยือนตามคำเชิญได้ และฝากอวยพรให้ประธานรัฐสภามองโกเลียประสบความสำเร็จในการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีที่จะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ ในระหว่างการเยี่ยมคารวะและร่วมประชุมหารือทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะสนับสนุนและยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายในระดับรัฐบาล รัฐสภา และประชาชนของทั้งสองประเทศ และควรมีการเพิ่มการลงทุนการค้าระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ประธานรัฐสภามองโกเลียยังได้ฝากให้คณะผู้แทนรัฐสภาไทยประสานงานรัฐบาลในการพิจารณาเรื่องการจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำมองโกเลีย และขอให้ไทยช่วยในการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวไทยมาเที่ยวมองโกเลียเพิ่มมากขึ้น รวมถึงต้องการส่งเสริมให้มีความร่วมมือด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้นด้วย | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงมินสก์ สาธารณรัฐเบลารุส รองประธานสภานิติบัญญัติ คนที่สอง พร้อมด้วยคณะผู้แทนกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เบลารุส เดินทางไปประชุมทวิภาคี ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤษภาคม - ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ | |||
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ ห้องรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงมินสก์ สาธารณรัฐเบลารุส นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติ คนที่สอง พร้อมด้วยคณะผู้แทนกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เบลารุส นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานกลุ่มมิตรภาพฯ เดินทางไปประชุมทวิภาคี ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤษภาคม - ๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ โดยมี พลตรี วาเลรี่ โกดูเควิช (Maj.Gen.Valery Gaidukevich) ประธานคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐสภาสาธารณรัฐเบลารุสและรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย ให้การต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมประชุมกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศ (Japan External Trade Organization : JETRO) | |||
วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดยพลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร ประธานคณะกรรมาธิการฯ ร่วมประชุมกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศ (Japan External Trade Organization : JETRO) โดยได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน นอกจากนี้ได้พบปะหารือกับนักธุรกิจที่มีการลงทุนในประเทศไทยแล้วและบริษัทที่สนใจจะลงทุนในประเทศไทย ได้แก่ ๑) Chuo Bus Shoji Co., Lte. ๒) Gear 8 Co., Lte. ๓) Iwane Laboratories, Ltd. และ ๔) Sakura Community Co., Lte. | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ รับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกร จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชรและพิษณุโลก | |||
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถงชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการฯ รับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกร จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชรและพิษณุโลกที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในโครงการต่างๆ ตามที่รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) จึงขอให้คณะกรรมาธิการฯ ช่วยเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่กลุ่มเกษตรกรทั้ง ๓ จังหวัดต่อไป ทั้งนี้ พลเอก ดนัย มีชูเวท กล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ จะนำเรื่องไปพิจารณาและดำเนินการต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
แถลงข่าวความคืบหน้าการพิจาณาร่าง พ.ร.บ.ว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา และพิจารณาคำแปรญัตติของสมาชิก สนช. | |||
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ รศ.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... แถลงข่าวความคืบหน้าการพิจาณาร่าง พ.ร.บ.ว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาเรียงลำดับรายมาตรา และพิจารณาคำแปรญัตติของสมาชิก สนช. โดยที่ประชุมได้แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำใน ๕ มาตรา ซึ่งในมาตรา ๑๒ มีการแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จาก ๓๒ คน เป็น ๓๕ คน พร้อมมีข้อสังเกตในหลายประเด็น อาทิ ๑.เป้าหมายการพัฒนาควรมีด้านการส่งเสริมพลังของประชาชนด้วย เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสแสดงบทบาทพลเมืองที่เข้มแข็งของรัฐในอนาคต ๒.การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิด้านอื่น ควรพิจารณาโดยคำนึงถึงสภาพการณ์และทิศทางการพัฒนาประเทศในห้วงเวลานั้นเป็นสำคัญ ๓.การเผยแพร่ผลการดำเนินการประจำปีจากหน่วยงานของรัฐ ให้ประชาชนทราบทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ควรคำนึงถึงวิธีการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและทั่วถึง ๔.ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ คือ ระบบการศึกษา และจิตสำนึกรักชาติ ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการจึงจะสามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ได้ ๕.แม้ยุทธศาสตร์ชาติจะกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไว้อย่างไร ก็ควรต้องรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของสังคมไทยด้วย คือ ความเอื้ออาทร ความสามัคคีปรองดอง ความเป็นไทย และสังคมแห่งความสุข อย่างไรก็ตาม การพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยมีประชาชนแสดงความคิดเห็นจำนวน ๘ คน จากการเข้าอ่านข้อมูลผ่านเว็บไซต์กลางของรัฐบาลจำนวน ๓,๐๕๑ คน ซึ่งข้อเสนอส่วนใหญ่คณะกรรมาธิการฯ เห็นด้วยตามที่ได้บัญญัติไว้แล้ว และมีเพิ่มเติมบางส่วนไว้ในข้อสังเกตด้วย ทั้งนี้จะมีการประชุมเพื่อทบทวนร่าง พ.ร.บ. กันอีกครั้งในวันที่ ๑ มิถุนายน เพื่อเตรียมเข้าสู่ที่ประชุม สนช. พิจารณา วาระ ๒ และวาระ ในวันที่ ๑๕ หรือ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือจาก ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม และคณะฯ | |||
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถงชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๒ นายตวง อันทะไชย สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือจาก นายคงฤทธิ์ บัวบุญ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดมหาสารคาม และคณะฯ เพื่อขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติชะลอการย้ายนายปฏิวัติ คุณดิลกพจน์ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งปศุสัตว์จังหวัดเพชรบูรณ์ เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่นายปฏิวัติ ดำรงตำแหน่งปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ชาวเกษตรกรจังหวัดมหาสารคามได้รับความช่วยเหลือจาก นายปฏิวัติด้วยดีตลอดมา จากหลายโครงการที่ช่วยผลักดันให้เกษตรกรจังหวัดมหาสารคามประสบผลสำเร็จและได้รับประโยชน์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีโครงการต่อเนื่องที่ยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้เห็นว่า นายปฏิวัติเป็นผู้ที่เข้าใจและช่วยพัฒนาเกษตรกรเป็นอย่างดี หากขาดผู้นำที่เข้าใจเกษตรเป็นอย่างดีแล้ว จะทำให้โครงการที่กำลังดำเนินการและโครงการต่อเนื่องไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร และอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรได้ จึงขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาและประสานผู้ที่เกี่ยวข้องให้ช่วยยับยั้ง และชะลอการย้ายนายปฏิวัติ คุณดิลกพจน์ ทั้งนี้ นาย ตวง อันทะไชย กล่าวว่า จะส่งเรื่องให้ประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณาและดำเนินการต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ให้การรับรอง H.E. Mrs. Mary Jo A. Bernardo-Aragon เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย | |||
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ ห้อง ๓๐๙ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ให้การรับรอง H.E. Mrs. Mary Jo A. Bernardo-Aragon เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย ในโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในฐานะประธานอาเซียนและการเตรียมการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีอาเซียน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร คณะกรรมาธิการการคมนาคม เดินทางไปเข้าพบเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ | |||
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๓๐๑๑.๓๐ นาฬิกา ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลโท จเรศักณ์ิ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เดินทางไปเข้าพบ นายพิษณุ สุวรรณะชฎ เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน เพื่อร่วมหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการคมนาคมขนส่งภายในกรุงลอนดอน ระบบราชการ การพัฒนาท่าเรือและระบบโลจิสติกส์ ระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งประเด็นปัญหาด้านอื่นๆ อาทิ ๑. ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ๒. ระบบการเชื่อมโยงการขนส่งทางเรือ ซึ่งปัจจุบันจะมีการสร้างท่าเรือแห่งใหม่เพื่อเชื่อมโยงระหว่างลอนดอน - แมนเชสเตอร์ ๓. ปัญหาและผลกระทบจากการที่ประเทศอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (European Union) ส่งผลกระทบต่อประชาชนในอังกฤษ ๔. การทำงานของภาครัฐกับภาคเอกชนของไทย ซึ่งปัจจุบันมีเอกชนไทยเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมาก ส่งผลดีในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ๕. การอนุวัติการตามกฎหมายให้สอดคล้องกับ IMO (International Maritime Organization) conventions ซึ่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการให้พร้อมรับการตรวจ (Audit) จากผู้แทน IMO ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) ในปี ค.ศ. ๒๕๖๔ และการที่ประเทศไทยต้องการรักษาที่นั่งใน IMO Council ต่อไปเป็นครั้งที่ ๗ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ข้าร่วมประชุมทวิภาคีเพื่อหารือในประเด็น "Issues on North Korean and South East China Sea" | |||
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐-๑๒.๐๐ นาฬิกา ณ National Graduate Institute of Policy Studies (GRIPS) คณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เข้าร่วมประชุมทวิภาคีเพื่อหารือในประเด็น "Issues on North Korean and South East China Sea" โดยมี Mr. Kiyotaka Yokomichi Vice President, National Graduate Institute of Policy Studies (GRIPS) และ Narushige Michishita, Professor ให้การต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติช้าง พ.ศ. ." | |||
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๓๐ ๑๕.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องสารนิเทศ ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ คณะกรรมการติดตามกลไกและพิจารณาการปกป้องคุ้มครองสัตว์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "ร่างพระราชบัญญัติช้าง พ.ศ. ." โดยมี นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการฯ กล่าวเปิดการสัมมนา และได้รับเกียรติจาก พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล รองประธานคณะกรรมการ คนที่หนึ่ง และนางพิไลพรรณ สมบัติศิริ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นวิทยากรร่วมอภิปรายและระดมความคิดเห็นในประเด็น "ความเป็นมา สาระสำคัญและเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติช้าง พ.ศ. ...." การจัดสัมมนาครั้งนี้มีขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อเท็จจริง ปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิบัติและการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยช้างในปัจจุบัน โดยการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติช้าง พ.ศ. . จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ตลอดจนรับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางที่เป็นประโยชน์เพื่อแก้กระบวนการตรากฎหมายว่าด้วยช้างที่เหมาะสมต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
สัมมนาเรื่อง "ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน" (ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖) | |||
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐-๑๗.๓๐ นาฬิกา ณ หอประชุมกำแหง พลางกูร ชั้น ๓ อาคาร ๕๖ ปี สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา คณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จัดสัมมนาเรื่อง "ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน" (ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖) โดยมี นายตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวเปิดการสัมมนา และพลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวรายงาน การจัดสัมมนาครั้งนี้มีขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนระดมความคิดเห็น นำเสนอข้อมูลให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อแนวทางการกำหนดมาตรฐานสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
ประชุมทวิภาคีเพื่อหารือแนวทางการปฏิบัติตามอนุสัญญาทางทะเลที่ประเทศไทยมีพันธสัญญาและแนวทางการปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ตามอนุสัญญาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต | |||
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๓๐-๑๗.๐๐ นาฬิกา ณ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organnization : IMO) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เข้าร่วมประชุมทวิภาคีเพื่อหารือแนวทางการปฏิบัติตามอนุสัญญาทางทะเลที่ประเทศไทยมีพันธสัญญาและแนวทางการปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ตามอนุสัญญาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี Mr.Lawrence Barchue Director,Department for Member State Audit and Implementation Support และคณะ ให้การต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
คณะกรรมาธิการการคมนาคม เข้าร่วมประชุมทวิภาคีเพื่อหารือแนวทางการปฏิบัติตามอนุสัญญาทางทะเลที่ประเทศไทยมีพันธสัญญาและแนวทางการปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร | |||
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๗.๐๐ นาฬิกา ณ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organnization : IMO) กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการฯ เข้าร่วมประชุมทวิภาคีเพื่อหารือแนวทางการปฏิบัติตามอนุสัญญาทางทะเลที่ประเทศไทยมีพันธสัญญาและแนวทางการปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ตามอนุสัญญาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี Mr.Lawrence Barchue Director,Department for Member State Audit and Implementation Support และคณะ ให้การต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
นคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส รับหนังสือจากขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) | |||
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้อง call center ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๒ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ รองประธานนคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส คนที่สอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี รับหนังสือจากขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) นำโดยนางเรืองรวี พิชัยกุล ผู้ประสานงานฯ เพื่อยื่นข้อเสนอต่อการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. . และร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. . เนื่องจากองค์กร WeMove ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายองค์กรผู้หญิงเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายในการส่งเสริมผู้หญิงในฐานะสมาชิกพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และสมาชิกรัฐสภาให้มีสัดส่วนที่สูงกว่าในปัจจุบัน ทั้งนี้ข้อเสนอที่องค์กร WeMove ได้เสนอต่อการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. . มีดังนี้ ๑. การจัดตั้งพรรคการเมืองต้องมีองค์ประชุมประกอบไปด้วยทั้งหญิงและชาย โดยก่อนยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง ผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองต้องประชุมร่วมกัน โดยจำนวนองค์ประชุมต้องมีสัดส่วนหญิงและชายเพศใดเพศหนึ่งไม่ น้อยกว่า ๑ ต่อ ๕ จากแต่ละภูมิภาค ๒. คณะกรรมการบริหารพรรคต้องกำหนดสัดส่วนให้มีทั้งหญิงและชาย โดยประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิก และกรรมการบริหารอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับ โดยต้องกำหนดสัดส่วนชายหญิงให้มีเพศใดเพศหนึ่งไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ๓. กำหนดให้คณะกรรมการของพรรคการเมืองทุกคณะต้องมีสัดส่วนผู้หญิง โดยกำหนดเป็นหลักเกณฑ์พื้นฐานหรือหลักเกณฑ์ทั่วไปให้ผู้หญิงต้องมีสัดส่วนอยู่ในคณะกรรมการต่างๆ ของพรรคการเมือง ๔. กำหนดเป็นหลักเกณฑ์ของทุกพรรคการเมืองในการพิจารณาผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อต้องมีสัดส่วนผู้หญิง โดยสมาชิกพรรคหรือส่วนภูมิภาค ต้องกำหนดสัดส่วนชายและหญิงให้มีเพศใดเพศหนึ่งไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ และโดยเพศที่มีจำนวนน้อยกว่า ต้องอยู่ในลำดับที่มีโอกาสรับเลือกตั้งด้วย และในกรณีพรรคการเมืองไม่สามารถส่งรายชื่อผู้สมัครตามเงื่อนไขได้ ต้องชี้แจงเหตุผลต่อกรรมการการเลือกตั้ง และกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดทำเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับรายชื่อของผู้สมัคร ๕. การดำเนินกิจการของพรรคการเมืองต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย สภาพของบุคคล และกลุ่มชาติพันธุ์ สำหรับข้อเสนอต่อร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. . มีดังนี้ ๑. เพิ่มความเสมอภาคทางเพศ ในมาตราใดก็ตาม ที่กำหนดการได้มาและจำนวนของกรรมการการเลือกตั้งทุกระดับและผู้ตรวจการเลือกตั้ง ควรกำหนดให้มี "สัดส่วนชายและหญิงเพศใดเพศหนึ่งไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ ๒. ไม่ควรตัดสิทธิผู้ที่เป็นและเคยเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการการเลือกตั้งทุกระดับและผู้ตรวจการเลือกตั้ง ๓. เพิ่มคุณสมบัติต้องห้ามของผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นกรรมการเลือกตั้งทุกระดับและผุ้ตรวจการเลือกตั้ง ที่มีหรือเคยมีพฤติการณ์กระทำความรุนแรงทางเพศหรือความรุนแรงในครอบครัว ทั้งนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ จะส่งมอบข้อเสนอดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.ป. ทั้ง ๒ ฉบับ เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
สัมมนา เรื่อง "การปลูกจิตสำนึกในการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์" | |||
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข ๓๐๖-๓๐๘ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ คณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับ คณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะประมุขของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จัดสัมมนา เรื่อง "การปลูกจิตสำนึกในการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์" โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง กล่าวเปิดการสัมมนาพร้อมทั้งปาฐกถาพิเศษ และพลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวรายงาน การจัดสัมมนาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และส่งเสริมดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ ขณะเดียวกัน ยังส่งเสริมให้ชาติมีความมั่นคงปลอดภัยและน้อมนำการปฏิบัติตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับความรู้และเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์รวมทั้งเกิดอุดมการณ์ในการพิทักษ์และเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นศูนย์รวมของคนในชาติ ตลอดจนน้อมนำการปฏิบัติตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นรากฐานส่งเสริมให้ชาติมีความมั่นคงปลอดภัยและยั่งยืนสืบไป ทั้งนี้ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า การจัดสัมมนาในหัวข้อสำคัญนี้จะเป็นการปลูกจิตสำนึกครั้งสำคัญในการที่จะทำให้คนไทยได้ตระหนักและสร้างความรู้สึกร่วมกันในการที่จะพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะในห้วงสำคัญของบ้านเมือง ซึ่งเป็นห้วงของการเปลี่ยนผ่านหลาย ๆ เหตุการณ์ที่จะนำไปสู่เป้าหมายสำคัญที่จะช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้น นั่นคือ การทำให้ชาติไทยเป็นชาติที่มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ ในคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จัดแถลงข่าวผลการพิจารณาศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ | |||
วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๔๕ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ ในคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จัดแถลงข่าวผลการพิจารณาศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ ของคณะอนุกรรมการฯ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานฯ กล่าวเปิดงานว่า กิจการตำรวจมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ ประกอบกับรัฐธรรมนูญ ๒๕๖๐ ด้านกระบวนการยุติธรรมบัญญัติให้ต้องมีการปฏิรูปกิจการตำรวจ ซึ่งการศึกษาแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจครั้งนี้จะเป็นข้อเสนอแนะในการปฏิรูปกิจการตำรวจให้เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริงและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชน ทั้งนี้ แผนการปฏิรูปกิจการตำรวจ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านโครงสร้างระบบงาน ระบบงบประมาณ ประกอบด้วย การถ่ายโอนภารกิจ ระบบงบประมาณ ระบบนิติวิทยาศาสตร์ และ ป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น ๒. ด้านกฎหมาย ระเบียบการปฏิบัติ ประกอบด้วย การปฏิรูประบบงานสอบสวนและการบังคับใช้กฏหมาย การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การสรรหาตำรวจและระบบฝึกอบรม ๓ .ด้านการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย การปรับปรุงการบริหารงานอย่างมีธรรมมาภิบาล และเส้นทางการเจริญเติบโตในสายงาน การจัดทำแผนการปฏิรูปกิจการตำรวจครั้งนี้เพื่อให้กิจการตำรวจสร้างศรัทธา และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เป็นตำรวจของประเทศและของประชาชนอย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับพี่น้องตำรวจในการทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ โดยจะนำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจเสนอไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ. .... แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ฯ ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ | |||
วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๑๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ พลโท พิศณุ พุทธวงศ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พ.ศ. .... แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่า คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาในรอบแรกเสร็จสิ้นแล้วทั้ง ๗๘ มาตรา ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปในบางมาตรา โดยจะขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เกี่ยวข้องในมาตรานั้นๆ และนำ พ.ร.ป. ฉบับเก่ามาเทียบเคียง ซึ่งจะนำประเด็นต่างๆ หารือ สร้างความเข้าใจกับสมาชิก สนช. ในการสัมมนาวันที่ ๒๐-๒๑ พฤษภาคมนี้ ที่จังหวัดจันทบุรี จากนั้นจะมีการพิจารณาในรอบที่สองในวันที่ ๒๒ และ ๒๙ พฤษภาคมนี้ และวันที่ ๑ มิถุนายนจะเชิญสมาชิกที่แปรญัตติมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งให้ได้ข้อสรุปทั้งหมด เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม สนช. พิจารณาวาระ ๒ วาระ ๓ ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ สำหรับประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อสรุป อาทิ การแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งในประเด็นนี้มีสมาชิก สนช. แปรญัตติ ๑๒ คน จากทั้งหมด ๑๔ คน ได้แสดงความคิดเห็นหลากหลาย ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่อยู่ในคณะกรรมาธิการฯ ได้ให้ความเห็นว่า ยังคงต้องให้มี กกต. จังหวัด และให้พ้นจากวาระการดำรงตำแหน่งตาม พ.ร.ป. ฉบับเก่า ด้านคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ก็ยืนยันว่าต้องมีการตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งขึ้นมาทำงาน และยกเลิก กกต.จังหวัด ส่วนวาระการดำรงตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งตาม พ.ร.ป.ฉบับเก่าเช่นกัน แต่เมื่อมีคณะกรรมการสรรหาให้คณะกรรมการพิจารณาว่ายังมีคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งต่อไปได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามคณะกรรมาธิการพิจารณากฎหมายฉบับนี้มุ่งหวังให้มีการเลือกตั้งที่สุจริตเที่ยงธรรม ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้พิจารณาเพื่อให้ประโยชน์กับกลุ่มบุคคลใด แต่ยึดประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ||
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐คณะอนุกรรมาธิการศึกษาด้านโลจิสติกส์ จัดสัมมนาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง " Eastern Economic Corridor and SEZs ฯ ณ โรงแรงม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ | |||
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐เวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องกมลทิพย์ ๑ และ ๒ ชั้น ๒ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาด้านโลจิสติกส์ จัดสัมมนาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในหัวข้อเรื่อง " Eastern Economic Corridor and SEZs : The new investment opportunity in Thailand" โดยมี พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร รองประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการศึกษาด้านโลจิสติกส์ กล่าวรายงาน และพลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวเปิดการสัมมนา ทั้งนี้ การจัดสัมมนาดังกล่าวมีขึ้นเพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงความต้องการของภาคเอกชนที่เป็นสมาคมต่างชาติ นักลงทุนและนักธุรกิจชาวไทย ในการที่จะส่งเสริมการค้าและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน เนื่องจากคณะกรรมาธิการการคมนาคมได้พิจารณาเห็นว่าแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ฉบับที่ ๒ (๒๕๕๖ ๒๕๖๐) มีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านคมนาคม คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาบริการขนส่งและเครือข่ายโลจิสติกส์ตามเส้นทางยุทธศาสตร์ ซึ่งทางคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้มีการศึกษาเรื่องระบบโลจิสติกส์ของประเทศ เช่น เรื่องของการเชื่อมต่อของท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุดและด่านการค้าที่สำคัญต่างๆ โดยเน้นเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กับแหล่งการผลิตต่างๆ รวมถึงการเชื่อมต่อกับแหล่งชายแดนที่สำคัญ โดยจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลข้อเท็จจริงว่าจะเป็นปัญหามากน้อยแค่ไหน เนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมาก มีท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด ที่เป็นประตูการค้า มีการส่งออกนำเข้าสินค้าสำคัญของประเทศ อีกทั้งมีสนามบินอู่ตะเภาที่รองรับการเดินทางและการขนส่งสินค้าอากาศยาน ซึ่งขณะนี้รัฐบาลได้เปิดโครงการนำร่องไปแล้วในสนามบินอู่ตะเภา นอกจากนั้นจะมีอีกหลายส่วนที่อยู่ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการนำประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 ให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ขั้นปานกลางไปสู่ประเทศที่รายได้ขั้นสูงต่อไป ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับคือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาและมีทิศทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หารือข้อราชการ ณ กระทรวงอุตสาหกรรม | |||
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย พลเอกสิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ และพลเอก ยุทธศิลป์ โดยชื่นงาม เลขานุการคณะกรรมาธิการ ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย พลเอก ดนัย มีชูเวท ประธานคณะกรรมาธิการ และนายกิตติศักดิ์ รัตนะวราหะ รองเลขานุการและรองโฆษกคณะกรรมาธิการ เข้าพบปะสนทนาเพื่อหารือข้อราชการร่วมกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ในประเด็นเกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ และประเด็นการผลักดันให้เกิดการใช้ยางพาราภายในประเทศโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และประเด็นที่เกี่ยวข้อง | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้แทนฯ เปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อเรื่อง "นวัตกรรมการแปรรูปอาหารและสมุนไพรสู่ฯ ณ ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการอบแห้งแบบพ่นฝอย จังหวัดปทุมธานี | |||
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการอบแห้งแบบพ่นฝอย จังหวัดปทุมธานี พลเรือเอก พัลลภ ตมิศานนท์ กรรมาธิการในคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นผู้แทนประธานคณะกรรมาธิการฯ เปิดงานสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อเรื่อง "นวัตกรรมการแปรรูปอาหารและสมุนไพรสู่ Thailand 4.0 ด้วยเครื่อง Hi-speed Extractor, Hi-Nutrition Evaporator และ Hi-Yield Spray Dryer" จัดโดยสมาคมเครื่องจักรกลไทย ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการอบแห้งแบบพ่นฝอย และบริษัท ยูโร เบสท์ เทคโนโลยี จำกัด โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานจังหวัด มหาวิทยาลัย เกษตรจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด หน่วยงานด้านสาธารณสุข และภาคเอกชน เข้าร่วมการสัมมนา | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ จังหวัดสงขลา | |||
วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.๒๕๕๘ ในภูมิภาค ๕ ภาคของประเทศไทย โดยครั้งนี้จัดเป็นครั้งที่ ๔ (ครั้งที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ ๓ จังหวัดกาญจนบุรี) ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โดยมีนางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ และประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี กล่าวเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ เรื่อง "สภานิติบัญญัติแห่งชาติกับการส่งเสริมความเสมอภาคความเท่าเทียมระหว่างเพศ" และนายศักระ กบิลกาญจน์ ปลัดจังหวัดสงขลา กล่าวต้อนรับ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ||
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือร้องเรียนจากายกสมาคมผู้ประกอบการรถตู้ภาคอีสาน และคณะฯ เพื่อยื่นข้อเสนอในการปฏิรูปและแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ | |||
วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๑๕ นาฬิกา ณ ห้อง ๓๑๑ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ พลโท จเรศักณิ์ อานุภาพ ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ รับหนังสือร้องเรียนจาก นายวุฒิภัทร คงมั่น นายกสมาคมผู้ประกอบการรถตู้ภาคอีสาน และคณะ เพื่อยื่นข้อเสนอในการปฏิรูปและแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าว ได้มีผลบังคับใช้มาเป็นเวลานานและสภาพการณ์การคมนาคมในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก บทบัญญัติทั้งหลายที่ใช้บังคับกันอยู่จึงไม่เหมาะกับกาลสมัย ซึ่งในปัจจุบันประชาชนทั้งในเขตเมืองและชนบทต่างมีวิถีการเดินทางในรูปแบบเฉพาะของแต่ละชุมชน ทางสมาคมผู้ประกอบการรถตู้ภาคอีสาน ที่ได้จัดจัดตั้งขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการขนส่งรถตู้รายย่อยในเขตพื้นที่ภาคอีสาน จึงขอเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีการปฏิรูป พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไป โดยบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้มีใบอนุญาตประกอบการขนส่งรูปแบบสมาคม ตลอดจนขอให้มีคำสั่งถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อทุเลาการบังคับใช้กฎหมายกับรถตู้ของสมาชิก "สมาคมผู้ประกอบการรถตู้ภาคอีสาน" ซึ่งอยู่ในระหว่างแก้ไขข้อกฎหมาย จนกว่าจะมีการประกาศบังคับใช้ในพระราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้ การแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการรถตู้ได้มีอาชีพที่ถูกต้อง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม การกระจายรายได้ และให้สอดคล้องกับประเพณีนิยม ธรรมเนียมปฏิบัติ และเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงการบริการของประชาชน ตลอดจนเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความเห็นใจของพี่น้องในท้องถิ่นภูมิลำเนาเดียวกัน ที่สำคัญยังเป็นการปฏิรูปกฎหมายครั้งยิ่งใหญ่สำหรับพี่น้องชาวรถตู้โดยเฉพาะชาวอีสาน และประชาชนผู้ใช้บริการในถิ่นทุรกันดารที่การให้บริการของภาครัฐยังไม่สามารถเข้าถึงได้ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการดูแลและฝึกอาชีพแก่สตรีพร้อมทั้งเยี่ยมชมการดำเนินงาน ณ จังหวัดสงขลา | |||
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๓๐ นาฬิกา คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี นำโดย นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการและประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ในฐานะผู้แทนคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วย พลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการดูแลและฝึกอาชีพแก่สตรีพร้อมทั้งเยี่ยมชมการดำเนินงาน โอกาสนี้ ได้มอบเงินให้กับมูลนิธิสงเคราะห์เด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาสภาคใต้ และมอบสิ่งของอุปโภคบริโภคแก่สตรีที่มาฝึกอาชีพ ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ จัดโครงการทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในภูมิภาค ๔ ภาค | |||
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านทุ่งคมบาง อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ร่วมกับ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดโครงการทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในภูมิภาค ๔ ภาคของประเทศ โดยครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๔ (ครั้งที่ ๑ จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ ๒ จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ ๓ จังหวัดกาญจนบุรี) โดยมี นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการสังคมฯ และประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี พร้อมด้วยพลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ และอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ได้ร่วมมอบสิ่งของประกอบด้วย ทุนอาหารกลางวัน ถุงยังชีพ ยาสามัญประจำบ้าน หนังสือเรื่อง "วิถีธรรมตามรอยพ่อ" ถุงเท้า ขนม ยารักษาโรค และเครื่องกีฬาให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งคมบาง โรงเรียนบ้านนาลึก โรงเรียน บ้านเขาล้อน ทั้งนี้ ขอขอบคุณ พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนับสนุนเครื่องกีฬา นายบุญชัย โชควัฒนา สมาชิกสภานิติบัญญับติแห่งชาติ สนับสนุนขนมแก่นักเรียน นายอิสระ ว่องกุศลกิจ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สนับสนุนน้ำตาลบรรจุในถุงยังชีพ และพลเอก ศุภกร สงวนชาติศรไกร สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มอบยาสามัญประจำบ้านให้แก่เด็กนักเรียน นอกจากนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ และพลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้เป็นผู้แทน มอบความช่วยเหลือให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยตามโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติรวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (พม.) และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดประชุมสมัชชาหญิงหม้าย ณ จังหวัดสงขลา | |||
วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ณ โรงแรมบีพี แกรนด์ ทาวเวอร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี ร่วมกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดประชุมสมัชชาหญิงหม้าย เพื่อให้หญิงหม้ายได้แสดงความคิดเห็นและสะท้อนปัญหาความต้องการของตนเพื่อเป็นพื้นฐานกำหนดนโยบายและสร้างการมีส่วนร่วมของสตรี ในโอกาสนี้ นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ และประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการสตรี และพลเอก วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ บรรยายพิเศษเรื่อง "สภานิติบัญญัติแห่งชาติกับนโยบายส่งเสริมศักยภาพสตรีในจังชายแดนภาคใต้" พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะจากที่ประชุมสมัชชาหญิงหม้ายเพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | ![]() | ![]() | |
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดินทางเยือนและประชุมร่วมกับ Prof. CHEN Xilin รองประธานสถาบันเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ CAS Computing Institute ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน | |||
วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง ประธานคณะกรรมาธิการฯ เดินทางเยือนและประชุมร่วมกับ Prof. CHEN Xilin รองประธานสถาบันเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ CAS Computing Institute เพื่อศึกษาเกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การจัดการความปลอดภัยบนเครือข่าย การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อนำข้อมูมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของภาครัฐให้มีศักยภาพ สำหรับเตรียมความพร้อมในกระบวนงานด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE.) ของประเทศไทย จากนั้น เดินทางไปเยี่ยมชม Zhongguancun Science Center (Z - PARK) เพื่อศึกษานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการข้อมูลผ่านระบบดาวเทียม นวัตกรรมทางการแพทย์ การบูรณาการจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเกษตรด้วย | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เข้าร่วมประชุมพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางหลวง หมายเลข ๓๑ | |||
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐ -๑๖.๓๐ นาฬิกา ณ สำนักทางหลวงที่ ๑๓ (กรุงเทพ) ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ คณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำโดย นายวันชัย ศารทูลทัต รองประธานคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการด้านการคมนาคมทางบกและทางราง เข้าร่วมประชุมกับผู้แทนกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กองบังคับการตำรวจจราจร และกรุงเทพมหานคร เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการปรับปรุงทางหลวง หมายเลข ๓๑ หรือถนนวิภาวดีรังสิต ตอนงามวงศ์วาน ดอนเมือง บริเวณสะพานทางเข้าอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... | |||
วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวว่า ขณะนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาถึงมาตรา ๗๖ จากทั้งหมด ๑๔๒ มาตรา มีมาตราที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ๑๔ มาตรา และเนื่องจากมีกรอบเวลากำหนดให้เสร็จก่อนวันที่ ๒๐ พ.ค. ที่จะมีการจัดสัมมนาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จึงจะมีการประชุมอีก ๕ ครั้ง โดยใช้เวลาพิจารณาเต็มวัน สำหรับมาตราที่ยังไม่ได้ข้อสรุปและคณะกรรมาธิการมีความเห็น อาทิ มาตรา ๔ เห็นว่าควรมีคำนิยามว่า "พรรคการเมือง" เพื่อให้กฎหมายมีความชัดเจนขึ้น มาตรา ๙ ทุนประเดิมพรรคการเมือง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท มีผู้แปรญัตติขอลดเหลือ ๕๐๐,๐๐๐ บาท หรือให้ชำระเป็นงวด มาตรา ๑๕ ค่าสมาชิกพรรคการเมืองปีละไม่น้อยกว่า ๑๐๐ บาท มีผู้แปรญัตติขอให้ไม่เกิน ๑๐๐ บาท มาตรา ๑๗ ขยายเวลาการขอแก้ไขข้อบังคับพรรคการเมืองจาก ๓๐ วัน เป็น ๖๐ วัน และสามารถขอขยายออกไปได้อีก ๓๐ วัน มาตรา ๒๒ เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคการเมือง ควรกำหนดความหมายของคำว่า "กฎหมาย"ให้แคบลง มาตรา ๒๓ เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบของคณะกรรมการในการจัดกิจกรรมของพรรคการเมือง มาตรา ๓๕ เห็นว่าตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดควรมาจากการเลือกตั้งจากสมาชิก จากเดิมที่พรรคการเมืองเป็นผู้แต่งตั้ง และมาตรา ๖๘ เกี่ยวกับการรับเงินบริจาค ซึ่งเห็นว่าสมาชิกสามารถรับเงินบริจาคได้แต่ต้องไม่นำมาใช้กับกิจกรรมทางการเมือง ทั้งนี้มีสมาชิก สนช. เสนอคำแปรญัตติ ร่าง พ.ร.ป. ฉบับนี้ จำนวน ๕ คน ประกอบด้วย นายพรศักดิ์ เจียรณัย ศาสตราจารย์พิเศษภัทรศักดิ์ วรรณแสง นายสมชาย แสวงการ นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล และนายมณเฑียร บุญตัน โดยแปรญัตติ อาทิ ประเด็นความเท่าเทียมระหว่างเพศหญิง เพศชาย และความหลากหลาย การให้เพิ่มตำแหน่งเลขาธิการพรรคการเมือง การลดค่าสมาชิกพรรค เป็นต้น | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
![]() | |||
คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการแรงงาน รับหนังสือจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจด้านแรงงาน | |||
วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถงชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... พร้อมด้วยนายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ รับหนังสือจากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจด้านแรงงาน ประกอบด้วย สภาองค์การนายจ้างธุรกิจการค้าและบริการไทย สมาคมสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย สมาคมนายจ้างผู้ประกอบการบริหารแรงงานภายนอกแห่งประเทศไทย และผู้ประกอบการนายจ้าง เพื่อเสนอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เกี่ยวกับประเด็นการเกษียณอายุ ๖๐ ปี เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจรักษาความปลอดภัย ธุรกิจรักษาความสะอาด และธุรกิจจ้างเหมาแรงงานทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่มีการจ้างแรงงานในช่วงอายุ ๕๐-๖๐ ปีจำนวนมาก การกำหนดให้เกษียณอายุที่ ๖๐ ปีจะทำให้เกิดผลเสียหายต่อแรงงานผู้สูงอายุที่จะมีอัตราการว่างงานสูงขึ้น ขณะที่สถานประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กจะปิดตัวลงมากขึ้นเพราะไม่สามารถแบกภาระต้นทุนได้ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
แถลงข่าวจัดการสัมมนา เรื่อง "การปลูกจิตสำนึกในการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์" | |||
วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ คณะอนุกรรมาธิการศึกษามาตรการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ใน คณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดย พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพย์วัลย์ สมุทรักษ์ อนุกรรมาธิการ และพันเอก วรวุฒิ แสงทอง อนุกรรมาธิการและโฆษก ร่วมกันแถลงข่าวจัดการสัมมนา เรื่อง "การปลูกจิตสำนึกในการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์" เพื่อส่งเสริมความจงรักภักดีต่อสภาบันพระมหากษัตริย์และดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชาติ รวมทั้งส่งเสริมให้ชาติมีความมั่นคงปลอดภัย และน้อมนำการปฏิบัติตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดให้มีการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ประธานกรรมการพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและอดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี บรรยายหัวข้อ "สถาบันพระมหากษัตริย์กับพระราชกรณียกิจที่มีต่อปวงชนชาวไทย" พลตำรวจเอก สมศักดิ์ แขวงโสภา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน บรรยายหัวข้อ "สถาบันพระมหากษัตริย์กับลูกเสือชาวบ้าน" และพันเอก วรวุฒิ แสงทอง บรรยายหัวข้อ "สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงของชาติ" สำหรับการสัมมนาดังกล่าว กำหนดจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๘.๐๐-๑๕.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม ๓๐๖-๓๐๘ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ลูกเสือชาวบ้านอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ผู้นำชุมชนและตำรวจชุมชนสัมพันธ์เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการสัมมนา จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังหรือรับชมถ่ายทอดสดการสัมมนาดังกล่าวผ่านทาง Facebook LIVE Fanpage : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส รับหนังสือจากเครือข่ายสตรี ๔ ภาค | |||
วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี และพลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ รับหนังสือจากเครือข่ายสตรี ๔ ภาค นำโดยนางศุภนันต์ วงศ์ปัญญา ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ ซึ่งได้ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนหญิงและมูลนิธิพิทักษ์สตรีแห่งประเทศไทย ยื่นข้อเสนอขอให้คณะกรรมาธิการฯ มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาและสร้างมาตรการเพื่อการปกป้องและคุ้มครองเด็ก เยาวชน สตรี และครอบครัว เนื่องจากเครือข่ายสตรี ๔ ภาค ได้ติดตามข่าวกรณีการค้าประเวณีเด็กและเยาวชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และมีการพาดพิงถึงข้าราชการระดับสูงว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการค้ามนุษย์ ซึ่งเครือข่ายเห็นว่าเป็นปัญหาของสังคมไทยมายาวนาน โดยเฉพาะการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ควรได้รับการแก้ไข ให้ความเป็นธรรมแก่มารดาและเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ สำหรับข้อเสนอดังกล่าวมีดังนี้ ๑. ให้คณะกรรมาธิการจัดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นเพื่อเสนอไปยังรัฐบาล เกี่ยวการแก้ไขปัญหา อาทิ การดำเนินคดี การคุ้มครองผู้เสียหาย และพยาน ๒. โอนการพิจารณาคดีในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้เป็นความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๓. ยกระดับการดำเนินคดีกับผู้ใช้บริการทางเพศจากเด็กและเยาวชน ๔. รณรงค์ปรับทัศนคติผู้ปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้แสวงหาประโยชน์จากเด็ก เยาวชน และผู้หญิง และช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหาย ๕. กำหนดมาตรการในการปกป้องคุ้มครองเด็กไม่ให้เข้าสู่วงจรการค้ามนุษย์ และ ๖. ให้รัฐบาลยกระดับการกวาดล้างสถานบริการไม่ให้แสวงหาประโยชน์ทางเพศกับเยาวชนที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ด้านนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ กล่าวเห็นด้วยกับข้อเสนอของเครือข่าย อาทิ การเปิดเวทีรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะความเห็นจากผู้ปกครอง และเด็กเยาวชน มีส่วนสำคัญ ซึ่งได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการกิจการเด็ก และเยาวชน ที่มีคุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี เป็นประธานฯ ดำเนินการ ทั้งนี้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ทัศนคติต่อผู้หญิงและเด็กเป็นปัญหาสำคัญในการล่วงละเมิดทางเพศ ต้องมีการรณรงค์ ให้เกิดความเท่าเทียม ส่วนบทลงโทษประเทศไทยมีกฎหมายที่จะเอาผิดกับผู้กระทำความผิดที่รุนแรงมากหากจะเทียบกับประเทศอื่น โดยเฉพาะหากผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่จะต้องรับโทษเพิ่มเป็น ๓ เท่า | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
แถลงถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. .... | |||
วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๓๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ พลโท พิศณุ พุทธวงศ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. .... แถลงถึงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป. ดังกล่าวว่า คณะ กมธ. ได้กำหนดประชุมสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ขณะนี้ได้มีการประชุมไปแล้ว ๒ ครั้ง โดยมีนายตวง อันทะไชย สมาชิก สนช. เป็นประธานกรรมาธิการฯ ซึ่งได้กำหนดแนวทางการพิจารณาโดยเชิญองค์กรที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลข้อคิดเห็น ได้แก่ ๑. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ๒. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ๓. สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ๔. สถาบันพระปกเกล้า สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาถึงมาตรา ๒๐ จาก ๗๘ มาตรา มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอคำแปรญัตติทั้งหมด ๑๔ ท่าน ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่มาตรา ๗๐ ซึ่งอยู่ในบทเฉพาะกาล และวาระการดำรงตำแหน่งของ กกต. นอกจากนี้คณะกรรมาธิการฯ ยังได้ความความสำคัญในเรื่อง "ความเป็นกลาง" ของผู้มีคุณสมบัติที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการตาม พ.ร.บ. ต่างๆ เพื่อใช้ในการตีความหากมีผู้ร้องว่ากรรมการผู้นั้นได้แสดงความคิดเห็น ในลักษณะไม่เป็นกลางก่อนดำรงตำแหน่ง ซึ่งต้องมีการบัญญัติไว้ในมาตราในมาตราหนึ่งให้ชัดเจน เช่น บัญญัติว่าต้องมีความเป็นกลางในขณะที่ดำรงตำแหน่ง รวมถึงคำปรารภในร่าง พ.ร.ป. เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... | |||
วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. .... แถลงความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ดังกล่าวว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาเห็นว่าเ พื่อให้การพิจารณากฎหมายฉบับนี้เป็นไปด้วยความรอบคอบ ที่ประชุมมีมติขยายวันประชุมจากเดิม ๓ วัน เป็น ๕ วัน คือ วันจันทร์-ศุกร์ โดยจะเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกาเป็นต้นไป สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ป. ขณะนี้มีพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติประชาธิปไตยก้าวหน้า ส่งข้อมูลมาให้กรรมาธิการพิจารณาเพิ่มเติม ซึ่งที่ประชุมมีมติให้นำข้อเสนอของทั้งสองพรรค ไปรวมกับข้อเสนอทั้งหลายที่ได้เคยรับฟังไว้แล้ว โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการนำไปเรียบเรียงว่าข้อเสนอนั้นตรงกับมาตราใด จะได้นำเข้าที่ประชุมเพื่อพิจารณาในคราวที่มีการพิจารณามาตรานั้นต่อไป สำหรับการพิจารณาของกมธ. ได้พิจารณาถึงมาตรา ๓๒ แล้ว และเนื่องจากมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างมากในมาตรา ๒๓ (๕) ที่บัญญัติไว้ว่าในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างน้อยในแต่ละปีพรรคการเมืองต้องมีกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง และมาตรา ๒๗ (๓) เรื่องค่าบำรุงพรรค ถ้าสมาชิกไม่จ่ายติดต่อกัน ๒ ปี ก็ถือว่าพ้นสมาชิกภาพ คณะกรรมาธิการฯ จึงเห็นควรพิจารณาในภายหลังต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||
![]() | ![]() | ![]() | |
คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงข่าวถึงเหตุการณ์การค้าประเวณีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน | |||
วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น ๑ อาคารรัฐสภา ๑ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงข่าวถึงเหตุการณ์การค้าประเวณีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยระบุว่าภาพรวมของการค้าประเวณีของไทยเป็นสิ่งที่ต่างประเทศจับตามองมาโดยตลอด ซึ่งขณะนี้อยู่ในระดับ tier ๒ แต่สภาพปัญหาในปัจจุบันเป็นยุคของโสเภณีเด็กกึ่งสมัครใจ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่มากและเป็นเรื่องที่แก้ยาก เพราะไม่ได้โดนบังคับขืนใจ แต่เป็นการสมัครใจค้าประเวณีเสียเอง ทำให้ต้องปราบปรามกับผู้ที่จะซื้อบริการ ถ้าหากซื้อบริการกับเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีจะต้องเจอโทษสถานหนัก ส่วนอีกประเด็นคือ เด็กผู้หญิงที่ตั้งท้องก่อนวัยอันควรหรือการตั้งครรภ์ทั้งที่ยังไม่พร้อม ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ ส่งผลให้รัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแก้ไขปัญหาเด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สำหรับการค้าประเวณีที่เกิดขึ้นในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขณะนี้มีการทำงานร่วมกันทั้ง ๓ ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ๑. กระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้ตั้งรองปลัดกระทรวงมหาดไทยในการสืบสวนข้อเท็จจริงที่เป็นไปตามระบบราชการ ๒.เครือข่ายปกป้องและคุ้มครองเด็ก ซึ่งประกอบด้วยองค์กรในเครือข่ายร่วมกันทำข้อมูลเชิงลึก โดยมีการทำข้อมูลร่วมกันกับกระทรวงมหาดไทย และ ๓.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็กที่ถูกนำไปเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ระบุว่า ถ้าผู้ใดนำเด็กหรือแสวงจากเด็กโดยมิชอบ ตามมาตรา ๖ หมายถึงเด็กที่อายุต่ำกว่า ๑๘ ปีลงมา โทษคือ จำคุก ๔ ถึง ๑๐ ปี และปรับตั้งแต่ ๘ หมื่น ถึง ๒ แสนบาท ยิ่งถ้าผู้กระทำเป็นพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ โทษจะหนักกว่าเป็น ๓ เท่า นั่นคือจำคุก ๑๒ ถึง ๓๐ ปี ในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ดำเนินการในเรื่องนี้ โดยได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการกิจการเด็ก และเยาวชน โดยมี คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี เป็นประธานอนุกรรมาธิการฯ เป็นผู้ประสานการทำงานร่วมกับกระทวงมหาดไทยและกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ซึ่งจะนำผลการดำเนินงานมาแถลงให้ทราบต่อไป | |||
กลับขึ้นไปด้านบน | |||